สปริงเกลอร์ sprinkler ระบบน้ำอัตโนมัติ water timer บ้าน สวน โรงแรม
Facebook SprinklerHome Line SprinklerHome.com Youtube SprinklerHome

การวางแผนระบบรดน้ำ สปริงเกอร์ (2)




    -โซนที่ 1 : พื้นที่ 1 –ใช้หัวสปริงเกลอร์รุ่น 6304 และหัวฉีด 7370 ที่สามารถฉีดได้ 3.7 เมตร ที่แรงดัน 1.4 บาร์ ใช้ปริมาณน้ำรวมทั้งหมด 2.44 ลบ.ม./ชม.
    -โซนที่ 2 : พื้นที่ 2 –ใช้หัวสปริงเกลอร์รุ่น PRO 5500/X2-550 หัวฉีดเบอร์ 54 ที่สามารถฉีดได้ 7.0 เมตร ที่แรงดัน 1.4 บาร์ ใช้ปริมาณน้ำรวมทั้งหมด 2.16 ลบ.ม./ชม.
    -โซนที่ 3: พื้นที่ 3 และ 4 –ใช้หัวสปริงเกลอร์รุ่น 6304 และหัวฉีด 7370 ที่สามารถฉีดได้ 3.7 เมตร ที่แรงดัน 1.4 บาร์ ใช้ปริมาณน้ำรวมทั้งหมด 1.98 ลบ.ม./ชม.
    -โซนที่ 4 : พื้นที่ 5 ใช้หัวสปริงเกลอร์รุ่น PRO 6000/X2-600 หัวฉีดเบอร์ 6 ที่สามารถฉีดได้ 9.8เมตร ที่แรงดัน 1.4บาร์ ใช้ปริมาณน้ำรวมทั้งหมด 1.92 ลบ.ม./ชม.

การเลือกขนาดท่อ และการวางแนวทางเดินท่อ
     เมื่อแบ่งโซนแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการเลือกขนาดท่อให้เหมาะสม ท่อพีอี(Polyethylene) เป็นท่อที่เหมาะสมและใช้กันมากที่สุดในงานระบบรดน้ำต้นไม้ การกำหนดขนาดท่อสามารถทำได้อย่างง่าย ๆ โดยการใช้ปริมาณการใช้น้ำของโซนที่ใช้น้ำมากที่สุด และเทียบกับตารางอัตราการไหลสูงสุดในท่อพีอี PN 4
 
     ตามตัวอย่างปริมาณน้ำที่มากที่สุดคือโซน 1 ใช้น้ำอยู่ที่ 2.44 ลบ.ม./ชม. หากดูตามตารางแล้วท่อขนาด 25 ม.ม. มีอัตราการจ่ายน้ำสูงสุดอยู่ที่2.59 ลบ.ม./ชม. ซึ่งมากกว่าปริมาณน้ำที่โซนที่ 1 ต้องการใช้ แต่อย่างไรก็ตามอัตราการจ่ายน้ำสูงสุดดังกล่าวยังไม่ได้คิดถึงค่าความสูญเสียจากแรงเสียดทานของท่อ ข้อต่อ และอุปกรณ์อื่น ๆ ดั้งนั้นการเลือกท่อจึงควรเลือกท่อโดยเผื่ออัตราการใช้น้ำเพิ่มขึ้นไปอีกประมาณ 30% ดังนั้นอัตราการใช้น้ำของโซนที่ 1 จะกลายเป็น 2.44 1.30 = 3.172 ลบ.ม. /ชม. จึงควรใช้ท่อขนาด 32 มม. โซนอื่น ๆ ก็ควรใช้ท่อขนาด 32 ม.ม. ด้วยเช่นกัน
     การเดินท่อควรเดินตามแนวขอบต่าง ๆ เพื่อความเป็นระเบียบและสวยงาม อีกทั้งยังสามารถรู้ตำแหน่งของท่อได้ง่ายเมื่อต้องการซ่อมแซมหรือบำรุงรักษา ตามรูปตัวอย่างการเดินท่อ และแบ่งโซน

การเลือกปั๊ม
     ปั๊มเป็นเสมือนหัวใจของระบบรดน้ำ เนื่องจากน้ำจะสามารถถูกฉีดออกำจากหัวสปริงเกลอร์ได้ จะต้องมีแรงดันน้ำมาเป็นตัวขับ โดยแรงดันดังกล่าวได้มาจากการทำงานของปั๊มน้ำ การเลือกปั๊มน้ำที่ไม่เหมาะสมจะทำให้ระบบไม่สามารถทำงานได้ หรืออาจทำให้ระบบรับภาระเกินความจำเป็นการเลือกปั๊มอย่างง่าย ๆ สามารถทำได้โดยการดูกราฟความสามารถของปั๊มน้ำของผู้ผลิตหรือผู้จำหน่ายนั้น ๆ
     จากตัวอย่างระบบถูกออกแบบให้ใช้งานที่แรงดัน 1.4 บาร์ ณ. จุดหัวฉีดสปริงเกลอร์ ดั้งนั้นหากคำนึงถึงค่าความสูญเสียจากแรงเสียดทานของท่อข้อต่อ และอุปกรณ์ต่าง ๆแล้ว เราต้องการปั๊มที่มีแรงดันสูงกว่าแรงดันที่ต้องการ วิธีการคำนวณเพื่อหาแรงดันที่เหมาะสมนั้น ต้องใช้สูตรต่าง ๆ เข้ามาเกี่ยวข้องมากมาย และวิธีการคำนวณมีความซับซ้อน อย่างไรก็ตามวิธีการที่ง่ายที่สุดคือการเผื่อแรงดันจากแรงดันที่ต้องการ ณ. จุดหัวฉีดสปริงเกลอร์ขึ้นไปอีก 40-70% ขึ้นอยู่กับลักษณะของพื้นที่ ลักษณะการวางท่อ และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง ในที่นี้เนื่องจากระบบใช้แรงดันค่อนข้างต่ำเราสามารถเผื่อแรงดันได้อีกที่ 70 % ดังนั้นแรงดันที่ปั๊มสามารถทำได้จะต้องอยู่ที่ 1.4 1.7=2.38 หรือประมาณ2.4 บาร์ (Head 24เมตร)
      เมื่อเรารู้แรงดัน หรือ Head ของปั๊มที่เราต้องการแล้ว เราต้องรู้อัตราการส่งน้ำที่ปั๊มต้องทำได้ด้วย เนื่องจากเราได้มีการคำนวณอัตราดังกล่าวไว้แล้วเพื่อใช้ในการเลือกท่อ เราสามารถนำคำดังกล่าวมา เพื่อใช้ในการเลือกท่อ เราสามารถนำคำดังกล่าวมา เพื่อใช้ในการเลือกปั๊มด้วยเช่นกัน ค่าปริมาณน้ำที่ปั๊มต้องสามารถทำได้คืออย่างน้อย 3.172 ลบ.ม./ชม. หรือประมาณ 3.2 ลบ.ม./ชม.
     ดังนั้นปั๊มที่ต้องการเพื่อใช้สำหรับระบบตามตัวอย่างต้องมีความสามารถ ณ จุดใช้งานดังนี้
        H (Head)                     =   24 เมตร หรือ 2.4 บาร์
        Q (อัตราการจ่ายน้ำ)    =    32 ลบ.ม./ชม.
        จากนั้นเรานำทั้งสองค่าดังกล่าวเทียบกับตารางและกราฟความสามารถของปั๊ม เพื่อเลือกปั๊มที่ถูกต้องได้ ข้อควรระวังคือตัวเลขดังกล่าวต้องเป็นที่จุดใช้งานบริเวณกลางเส้นกราฟของปั๊ม ไม่ใช่ตัวเลขอัตราสูงสุดที่ปั๊มทำได้
 
ปริมาณน้ำที่ต้องการ
     ปริมาณน้ำที่พืชต้องการสามารถจำแนกออกเป็น 4 กลุ่มหลัก ได้แก่ สวน ไม้ดอกไม้ประดับ(พุ่มไม้) สนามหญ้า และไม้ในกระถางหรือระเบียง ในการแบ่งพื้นที่การให้น้ำให้คำนึงถึงสภาพพื้นที่ เช่น ในร่มหรือกลางแจ้ง เมื่อสามารถทำความเข้าใจกับปริมาณน้ำที่พืชต้องการ จะช่วยให้การวางผังการรดน้ำในแต่ละกลุ่มพืชมีความชัดเจนขึ้น เพื่อให้ง่ายในการวางแผนตารางข้างล่างนี้ จะบอกถึงระยะเวลาในการรดน้ำโดยทั่วไปของพืชแต่ละกลุ่ม และวิธีการรดน้ำแต่ละแบบ แต่ท่านควรปรับระยะเวลาให้เหมาะสมตามสภาพภูมิอากาศและพื้นที่ของท่าน
 

ปริมาณน้ำที่ต้องการ

ชนิดของระบบรดน้ำ

ลักษณะดิน

อากาศเย็น

อากาศอบอุ่น

อากาศร้อน

สวน   

 มินิสปริงเกลอร์

ดินเหนียว

30 นาที ทุก ๆ วัน

35 นาที ทุก ๆ วัน

35 นาที ทุกวัน

   ดินทราย

15 นาที ทุก ๆ วัน

15 นาที ทุกวัน

15 นาที ต่อ วันครั้ง

พุ่มไม้

 ระบบน้ำหยด

ดินเหนียว

ชั่วโมง สัปดาห์ละครั้ง

ชั่วโมง ทุก ๆ วัน

ชั่วโมง ทุก ๆ วัน

   ดินทราย

ชั่วโมง ทุก ๆ วัน

ชั่วโมง ทุก ๆ วัน

ชั่วโมง ทุกวัน

ไม้กระถาง

ระบบน้ำหยด

   ดินผสม

ทุก ๆ วัน จนเต็มกระถาง

ทุกวันจนเต็มกระถาง

ทุกวัน จนเต็มกระถาง

สนามหญ้า

POP UP(หัวฉีดสเปรย์)

ดินเหนียว

15 นาที สัปดาห์ละ ครั้ง

15 นาที ทุก ๆ วัน

35 นาที ทุก ๆ วัน

   ดินทราย

10-15 นาที ทุก ๆ วัน

10-15 นาที ทุก ๆ วัน

10-15 นาที ทุกวัน

สนามหญ้า

POP UP(เกียร์ไดร์พ)

ดินเหนียว

ชั่วโมง สัปดาห์ละครั้ง

ชั่วโมง ทุก ๆ วัน

ชั่วโมง ทุก ๆ วัน

  ดินทราย

30 นาที ทุก ๆ 4วัน

30 นาที ทุก ๆ วัน

 30 นาที ทุกวัน

  
หมายเหตุ: ตารางดังกล่าว เป็นแนวทางการให้น้ำ เวลาที่เหมาะสมขึ้นอยู่กับสภาพอากาศและพื้นที่

ขึ้นไปด้านบน