สปริงเกลอร์ sprinkler ระบบน้ำอัตโนมัติ water timer บ้าน สวน โรงแรม
Facebook SprinklerHome Line SprinklerHome.com Youtube SprinklerHome

เลือกโอเวอร์โหลดรีเลย์ให้เหมาะกับมอเตอร์ ปั้มน้ำ



 

เลือกโอเวอร์โหลดรีเลย์อย่างไร ให้เหมาะกับมอเตอร์ที่เราใช้งาน

มอเตอร์ไฟฟ้าเป็นส่วนประกอบที่สำคัญในการทำงานของเครื่องจักรส่วนใหญ่ ในโรงงานอุตสาหกรรมดังนั้นหากมีความเสียหายเกิดขึ้นกับมอเตอร์คงไม่ใช่เรื่องดีแน่ ดังนั้นการเลือกอุปกรณ์ป้องกันมอเตอร์จึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพื่อปลดวงจรก่อนที่มอเตอร์จะเสียหาย

วงจรควบคุมมอเตอร์ โดยทั่วไปจะติดตั้งเครื่องป้องกันกระแสลัดวงจร ซึ่งอาจจะเป็นฟิวส์(Fuses) หรือเซอร์กิตเบรกเกอร์ (Circuit Breaker) ซึ่งการเริ่มเดินมอเตอร์โดยตรง (Direct On Line Starter) จะมีกระแสเริ่มเดินสูงมาก ดังนั้นการเลือกใช้ฟิวส์หรือเซอร์กิตเบรกเกอร์จึงต้องมีพิกัดกระแสที่สูงขึ้น เพื่อป้องกันการปลดวงจรจากการเริ่มเดินมอเตอร์ และหากมอเตอร์ทำงานเกินขนาด จะทำให้เกิดความร้อนสะสมเพิ่มสูงขึ้น แต่เครื่องป้องกันการลัดวงจรจะไม่สามารถป้องกันครอบคลุมในส่วนนี้ได้ จึงต้องติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันโหลดเกิน (Overload Relay) ช่างและวิศวกรในประเทศไทยส่วนใหญ่เรียกทับศัพท์ว่า โอเวอร์โหลดรีเลย์

สิ่งที่ต้องรู้ในการเลือกโอเวอร์โหลดรีเลย์

1. ชั้นการใช้งานมอเตอร์ ซึ่งแบ่งตามช่วงเวลาการเริ่มเดินของมอเตอร์ ตามมาตรฐาน IEC มีการแบ่งชั้น (Class) ของโอเวอร์โหลดรีเลย์ชนิดความร้อน เป็นชั้นต่างๆเพื่อให้เหมาะสมกับวิธีการเริ่มเดินมอเตอร์และโหลดที่ใช้งาน  สามารถแบ่งได้ดังตารางที่ 1

ตารางที่1 ชั้นของโอเวอร์โหลดรีเลย์ ตามมาตรฐาน IEC

 

 

การเลือกใช้งานควรเลือกชั้นที่ต่ำที่สุด คือ Class 10 เพื่อป้องกันมอเตอร์เสียหายได้เร็วที่สุด

Tips การปรับตั้งค่ากระแสโอเวอร์โหลด ควรปรับตั้งเริ่มต้นตามที่กำหนดในตารางก่อน แต่ในการติดตั้งใช้งานจริง หากโอเวอร์โหลดรีเลย์ปลดวงจรเมื่อเริ่มเดินมอเตอร์ให้เพิ่มร้อยละการปรับตั้งได้ แต่ไม่เกินค่าสูงสุดที่ยอมให้ปรับตั้ง

 

2. ช่วงปรับตั้งกระแสโหลดเกินหรือกระแสโอเวอร์โหลด โอเวอร์โหลดรีเลย์ (Overload Relay) ที่ใช้กันอยู่ทั่วไป เป็นชนิดติดตั้งแยกจากตัวมอเตอร์ จะต่ออนุกรมอยู่ในวงจรมอเตอร์หรือผ่านหม้อแปลงกระแสกรณีที่เป็นมอเตอร์ขนาดใหญ่ การปรับตั้งกระแสโอเวอร์โหลดรีเลย์จะปรับตามประเภทมอเตอร์ซึ่งระบุรายละเอียดบนแผ่นป้ายประจำเครื่อง (Name Plate) ดังตารางที่2

 

 

ตารางที่3 NEMA Service Factor at Synchronous Speed (RPM) for drip proof motors

เซอร์วิสแฟคเตอร์ (Service Factor) คืออะไร?

เซอร์วิสแฟคเตอร์ (SF) คือค่าตัวเลขที่ใช้วัดการขับโหลดอย่างต่อเนื่อง ที่มอเตอร์สามารถใช้งานได้โดยปราศจากโอเวอร์โหลดหรือเกิดความเสียหายต่อมอเตอร์ ตามมาตรฐาน NEMA (National Electrical Manufacturers Association) ค่าเซอร์วิสแฟคเตอร์สำหรับมอเตอร์แบบปิดสนิท (Totally Enclosed) จะมีค่าเป็น 1.0 และค่า SF ของมอเตอร์แต่ละประเภทตามตารางที่ 3

เช่น มอเตอร์ขนาด 1 แรงม้า มีค่า SF 1.15 แสดงว่ามอเตอร์ตัวนี้สามารถขับโหลดได้อย่างต่อเนื่องที่ 1×1.15 เท่ากับ 1.15 แรงม้า

 

3. การรีเซ็ตหลังจากปลดวงจร ปัจจุบันมีให้เลือกใช้ทั้งรีเซ็ตด้วยมือ (Manual Resetting) และแบบอัตโนมัติ (Automatic Resetting) หรือบางรุ่นสามารถเป็นได้ทั้งสองแบบแล้วแต่การปรับตั้ง

ข้อดีของการรีเซ็ตด้วยมือคือหากมีการปลดวงจรด้วยโอเวอร์โหลดรีเลย์ มอเตอร์จะไม่สามารถกลับมาทำงานได้โดยอัตโนมัติ จะต้องมีเจ้าหน้าที่ไปสำรวจความผิดปกติของการปลดวงจรก่อน  หลังจากนั้นจะมากดที่ปุ่มรีเซ็ตที่ตัวโอเวอร์โหลดรีเลย์ ก่อนการเริ่มเดินมอเตอร์อีกครั้ง ข้อเสียคือต้องกดปุ่มรีเซ็ตก่อนเริ่มเดินมอเตอร์ใหม่อีกครั้ง

 

 

4. การติดตั้งต่อเนื่องจากหน้าสัมผัสแม่เหล็กไฟฟ้า (Magnetic Contactor) ผู้จำหน่ายส่วนใหญ่จะผลิตโอเวอร์โหลดรีเลย์แต่ละรุ่นตามช่วงกระแสที่ปรับตั้ง ซึ่งจะสอดคล้องกับการทนกระแสของหน้าสัมผัสแม่เหล็กไฟฟ้า หรือแมกเนติกคอนแทคเตอร์ เพื่อให้สามารถติดตั้งได้สะดวกโดยการต่อเชื่อมกับคอนแทคเตอร์ได้โดยที่ไม่ต้องเดินสายไฟ

 

- See more at: http://www.engineerfriend.com/2012/articles/lovato-2/#sthash.Wuj9uQcT.dpuf
ขึ้นไปด้านบน