สปริงเกลอร์ sprinkler ระบบน้ำอัตโนมัติ water timer บ้าน สวน โรงแรม
Facebook SprinklerHome Line SprinklerHome.com Youtube SprinklerHome

วิธีติดตั้งสปริงเกอร์ การวางระบบสปริงเกอร์



ในการติดตั้งระบบสปริงเกอร์ มีองค์ประกอบที่ผู้ใช้ควรคำนึงหลักๆดังนี้

1.คำนวนพื้นที่ ที่จะวางระบบสปริงเกอร์ว่ามีพื้นที่ทั้งหมดกี่ตารางเมตรหรือกี่ไร่
2.เลือกหัวสปริงเกอร์ให้เหมาะกับการใช้งาน ของพื้นที่นั้นๆ
3.เลือกขนาดท่อ ที่จะส่งน้ำ (ถ้ามีพื้นที่มากควรใช้ท่อที่ทนแรงดันน้ำได้สูงเช่นท่อพีอีเป็นต้น)
4.เลือกปั๊มน้ำที่จะใช้ผลักดันปริมาณของน้ำ
5.มีระบบปิดเปิดและตั้งเวลาควบคุมน้ำได้แบบอัตโนมัติ
6.จำเป็นต้องรู้ว่าพืชผักต้นไม้หรือต้นหญ้าจะใช้น้ำเท่าไหร่จึงจะพอเหมาะต่อการรดน้ำ

ชนิดของหัวสปริงเกอร์

ชนิดของหัวสปริงเกอร์ มีหลายชนิด
ถ้าหากแบ่งตามลักษณะการจ่ายน้ำจะแบ่งได้ดังนี้

1.หัวแบบมินิสปริงเกอร์ MiniSprinkler หัวมินิสปริงเกอร์ชนิดนี้จะจ่ายน้ำในอัตราที่ไม่สูง (ไม่เกิน 500 ลิตร/ชม.) จะมีทั้งแบบน้ำหยด และแบบหัวเหวี่ยงขนาดเล็ก รัศมีการจ่ายน้ำจะไม่มาก ไม่เกิน 2-3 เมตร หัวจ่ายน้ำแบบนี้จะเหมาะกับพื้นที่ขนาดเล็กๆหรือไม้พุ่ม
2.หัวแบบสเปรย์ spray หัวสเปรย์นี้ มีลักษณะการจ่ายน้ำซึ่งเป็นแบบรูปพัด รัศมีการจ่ายน้ำไม่เกิน 5-6 เมตร เหมาะกับบ้านที่มีขนาดพื้นที่รดน้ำไม่กว้างมากนัก (5-6 เมตร)
3.หัวแบบโรเตเตอร์ rotor หัวโรเตเตอร์นี้ มีลักษณะการจ่ายน้ำฉีดออกจากหัวจ่ายและหมุนรอบตัวหรือองศาที่กำหนดไว้ รัศมีการฉีดน้ำตั้งแต่ 6 เมตรขึ้นไปถึง 15-20 เมตร เหมาะกับพื้นที่ขนาดใหญ่เช่นสนามหญ้า สวนสาธารณะ เป็นต้น หากแบ่งตามลักษณะการติดตั้ง สามารถแบ่งได้ดังนี้

3.1 หัวแบบฝังอยู่ใต้ดิน (under ground) ได้แก่แบบ pop-up
– หัวจ่ายน้ำแบบนี้จะถูกฝังอยู่ใต้ดินจะโผล่ขึ้นมาเฉพาะเวลาที่ทำงานเท่านั้น โดยปกติจะติดตั้งบริเวณสนามหญ้า และเป็นพื้นที่โล่ง เพื่อความสวยงาม
3.2 หัวแบบติดตั้งอยู่เหนือดิน (above ground)
– ได้แก่แบบที่ติดตั้งอยู่เหนือดินเช่น มินิสเปรย์ หัวพ่นหมอก pop-up แบบที่ติดตั้งอยู่บน riser แบบนี้จะติดตั้งบริเวณไม้พุ่มและต้องอยู่ในจุดที่หลบสายตาผู้พบเห็น

ระบบสปริงเกอร์ทำงานอย่างไร

ระบบรดน้ำต้นไม้อัตโนมัติ (สปริงเกอร์) มีองค์ประกอบของอุปกรณ์หลักๆ คือ
1.หัวสปริงเกอร์ Sprinkler Head หัวสปริงเกอร์มีหลายชนิด ถ้าแบ่งตามลักษณะการฉีดน้ำ จะมีแบบ spray head,rotor หรือแบบ น้ำหยด ทั้งนี้การเลือกใช้งานจะต้องเลือกให้เหมาะสมกับลักษณะของพื้นที่ ชนิดของดินและพืช
2.วาล์วไฟฟ้า (Solenoid Valve) ใช้ไฟฟ้าความต่างศักย์ต่ำ (24 โวลท์) จากคอนโทรลเลอร์ในการสั่งการให้วาล์วเปิดปิด
3.คอนโทรลเลอร์ (Controller) เป็นอุปกรณ์ที่สั่งให้วาล์วไฟฟ้าเปิดปิดตามเวลาและระยะเวลาที่กำหนดไว้
4.เครื่องสูบน้ำ (Pump) ระบบสปริงเกอร์ใช้แรงดันน้ำค่อนข้างสูงจึงจำเป็นจะต้องมีเครื่องสูบน้ำที่เหมาะสมกับระบบโดยเฉพาะ

หลักการทำงานถ้าอธิบายให้เข้าใจได้ง่ายๆ คือ เมื่อถึงเวลาที่เรากำหนดไว้เช่น 8 โมงเช้า คอนโทรลเลอร์จะสั่งให้วาล์วไฟฟ้าตัวแรกเปิดพร้อมกับสั่งให้เครื่องสูบน้ำทำงาน หัวสปริงเกอร์ก็จะทำการจ่ายน้ำเพื่อรดน้ำต้นไม้ เมื่อถึงระยะเวลาที่กำหนดไว้เช่น 3 นาที คอนโทรลเลอร์ก็จะสั่งให้วาล์วไฟฟ้าตัวแรกปิด และสั่งให้วาล์วตัวถัดไปเปิด จนกระทั่งครบทุกวาล์ว คอนโทรลเลอร์ก็จะสั่งให้เครื่องสูบน้ำหยุดทำงาน จนกระทั่งถึงเวลาที่กำหนดให้รดน้ำครั้งต่อไประบบจึงจะเริ่มทำงานใหม่ ถ้าติดระบบตรวจวัดน้ำฝนไว้ด้วย วันใดที่มีฝนตกระบบก็จะไม่ทำการรดน้ำ ไม่ทำให้พืชได้รับน้ำมากเกินไปและเป็นการช่วยประหยัดน้ำได้อีกทาง
จะเห็นได้ว่าการทำงานของระบบตั้งแต่ต้นจนจบไม่มีการใช้คนเข้ามาเกี่ยวข้องเลย หากท่านไม่อยู่ที่บ้านจึงไม่ต้องกังวลว่าจะลืมรดน้ำต้นไม้อีก ทั้งยังเป็นการประหยัดเวลา แรงงานและค่าน้ำ รดน้ำได้สม่ำเสมอทั่วพื้นที่ และลดการสูญเสียน้ำเทียบกับการรดน้ำด้วยวิธีปกติ ทำให้ใช้น้ำได้อย่างคุ้มค่า
ขึ้นไปด้านบน