สปริงเกลอร์ sprinkler ระบบน้ำอัตโนมัติ water timer บ้าน สวน โรงแรม
Facebook SprinklerHome Line SprinklerHome.com Youtube SprinklerHome

ระบบสวนครัวน้ำหยด ง่ายๆ ใช้งานได้จริง



ความเป็นมา
......งานวิจัยของผมชิ้นนี้ เป็นงานวิจัยลักษณะโครงการนำร่องเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมให้เกษตรกรโดยเฉพาะในเขตพื้นที่ที่ผมดูแล ได้เข้าถึงระบบน้ำที่มีเทคโนโลยีที่ทันสมัย ราคาถูก เรียนรู้ได้ง่าย วัสดุแปกรณ์เกษตรกรสามารถหาซื้อได้เอง และที่สำคัญจะต้องเป็นระบบที่ใช้งานได้ง่ายสำหรับทุกเพศและทุกวัย
......โจทย์ในการทำวิจัยของผมดังข้างต้นที่กล่าวมา แม้ว่าระบบน้ำหยดและระบบสวนครัวน้ำหยดนี้จะเข้ามาในประเทศตั้งแต่ ๑๐ กว่าปีที่แล้วตั้งแต่สมัยที่ผมยังเรียนอยู่ และผมได้ทดลองใช้ระบบนี้ในการปลูกจริงก็พบว่าเป็นระบบที่มีประสิทธิภาพที่สูงมาก ประหยัดน้ำประหยัดเวลาประหยัดแรงงาน หรือจะกล่าวโดยรวมแล้วก็เป็นระบบที่มีข้อดีที่เยอะมาก เหมาะสำหรับเกษตรกรเมืองไทยมากๆ และผมพิจารณาแล้วว่าสอดคล้องกับแนวคิดเศรษฐกินพอเพียงอย่างแน่นอน ด้วยเน้นให้เกษตรกรพึ่งพาตนเอง คือเพื่อเสริมให้เกษตรกรปลูกพืชผักไว้บริโภคเองในครัวเรือน เหลือจากการบริโภคก็สามารถนำไปขายสร้างรายได้ให้เกษตรกรได้ แต่.......
.......จากวันที่ผมได้ทดลองระบบจนถึงวันที่ผมได้ตระเวนไปทั่วภาคเหนือภาคอีสานผมก็ยังเห็นเกษตรกรต้องลำบากในการให้น้ำพืชอยู่ไม่เปลี่ยนแปลง จะด้วยเหตุผลใดผมก็ไม่ทราบได้ แต่ในความคิดของผม ผมเชื่อมั่นว่าระบบสวนครัวน้ำหยดน่าจะเป็นประโยชน์ต่อเกษตรกรอย่างแน่นอน ผมจึงเสนอแนวคิดนี้ต่อเจ้านายผม ซึ่งเจ้านายผมท่านก็เห็นด้วยและก็สนับสุนนผมเป็นอย่างดี ให้เงินทุนวิจัยมาก้อนหนึ่ง ทำให้ผมได้สานต่อความคิดที่จะช่วยเหลือเกษตรกรเมืองไทยให้พึ่งพาตนเองให้ได้ ตามปณิธานและแนวทางเศรฐษกิจพอเพียงของพ่อหลวงที่ผมยึดเป็นแนวทางในการทำงาน ...........
รับทำเว็บ  webUB.com



ผลงานชิ้นนี้ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์อย่างเป็นทางการ แต่ตัวรูปเล่มรายงานเสร็จสมบูรณ์แล้ว ซึ่งตัวผมเองหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ข้อมูลที่เกิดจากการทำงานวิจัยนี้จะเป็นประโยชน์ต่อเกษตรกรเป็นวงกว้าง เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรที่ยังไม่สามารถเข้าถึงองค์ความรู้นี้ หากท่านที่ได้เข้ามาอ่านแล้ว จะช่วยผมเผยแพร่ผมก็ยินดีอย่างยิ่ง แต่หากต้องการนำส่วนหนึ่งส่วนใดของข้อมูลไปเพื่อใช้ประโยชน์ส่วนตนหรือหน่วยงานเพื่อทำผลงาน กรุณาติดต่อขออนุญาตผมหลังไมค์นะครับ ผมไม่ได้หวงนะครับแต่ผลงานทั้งหมดก็ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของหน่วยงานผม

ผมขอนำทุกท่านไปดูแนวคิดกันเลยครับ

จากคุณ : ฟ้าสีหมอก
เขียนเมื่อ : 24 ต.ค. 54 10:42:56




ติดต่อทีมงาน
ความคิดเห็นที่ 1

เริ่มแรกเรามาดูวัตถุประสงค์ของโครงการนี้กันก่อนครับ

วัตถุประสงค์
1. เพื่อเสริมสร้างองค์ความรู้ด้านระบบการให้น้ำประสิทธิภาพสูง
2. เพื่อส่งเสริมความรู้ความเข้าใจ ทักษะประสบการณ์ในเรื่องระบบการให้น้ำประสิทธิภาพสูงและประหยัดน้ำ เพื่อให้เกษตรกรมีความรู้ความเข้าใจในการประมาณน้ำต้นทุนที่ใช้ในการปลูกพืชได้ในแต่ละฤดูกาลเทียบกับปริมาณน้ำต้นทุนที่เกษตรกรมีอยู่ และสามารถประมาณพื้นที่ปลูกพืชได้อย่างเหมาะสมกับปริมาณน้ำต้นทุนได้

ผลที่คาดว่าได้รับ
1. เกษตรกรได้องค์ความรู้ด้านระบบการให้น้ำประสิทธิภาพสูง
2. เกษตรกรมีรายได้จากผลผลิตจากแปลงทดลองและสามารถขยายผลนำไปใช้เพื่อการปลูกพืชเชิงพาณิชย์ได้
3. แปลงที่เข้าร่วมโครงการนี้สามารถจัดทำเป็นศูนย์เรียนรู้ให้เกษตรกรรายอื่น โดยให้เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการเป็นวิทยากรถ่ายทอด

จากคุณ : ผมเอง (ฟ้าสีหมอก)
เขียนเมื่อ : 24 ต.ค. 54 10:44:29





ติดต่อทีมงาน
ความคิดเห็นที่ 2

หลักการของ "ระบบสวนครัวน้ำหยด" ตัวหนังสืออาจจะเล็กไปหน่อยก็ขออภัยครับ


รูปแบบและวิธีการทำ

รูปแบบการติดตั้ง
สำหรับรูปแบบการติดตั้งนี้ ไม่มีกฎเกณฑ์ที่ตายตัวครับ ขึ้นอยู่กับพื้นที่ที่ปลูก อาจจะตั้งถังน้ำตรงกลางก็ได้ ถังน้ำตั้งด้านข้าง แล้วแต่ความเหมาะสมครับ

รับทำเว็บ  webUB.com


การต่อท่อนั้น เนื่องจากระบบนี้มีความดันในระบบน้อย ผมจึงแนะนำเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการว่า ไม่จำเป็นต้องต่อท่อด้วยกาวครับ เพราะง่ายในการถอดเคลื่อนย้ายครับ





จากคุณ : ผมเอง (ฟ้าสีหมอก)
เขียนเมื่อ : 24 ต.ค. 54 11:02:06





ติดต่อทีมงาน
ความคิดเห็นที่ 6

รายการอุปกรณ์ครับ ถอดให้เลยทุกชิ้น สามารถซื้อได้ตามร้านขายอุปกรณ์การเกษตรครับ

แต่ถ้าพื้นที่ติดตั้งแตกต่างจากแบบก็สามารถคิดใหม่ได้ครับ หรืออยากจะใส่ลูกเล่นต่างๆ เข้าไปเพิ่มก็ได้ เช่น ในกรณีที่เราทำในพื้นที่บ้าน มีน้ำประปาใช้ เราก็ติดตั้งลูกลอยเพิ่มเข้าไปในถังเพื่อป้องกันน้ำล้น หรืออาจะต่อน้ำประปาบายพาสเข้าระบบโดยตรงด้วยก็ได้ครับ





จากคุณ : ผมเอง (ฟ้าสีหมอก)
เขียนเมื่อ : 24 ต.ค. 54 11:05:33





ติดต่อทีมงาน
ความคิดเห็นที่ 7

รายการจะแพงอยู่ที่เทปน้ำหยเครับ เพราะขายแบบเป็นม้วนม้วนละ ๕๐๐ เมตร ๑๐๐๐ เมตร หรือ ๒,๒๐๐ เมตร ครับ แต่ถ้าเราเริ่มทำหรือทำพื้นที่น้อยๆ ก็ซื้อแบบ ๕๐๐ เมตรก็พอครับ เทปที่เหลือก็สามารถนำไปติดตั้งเพิ่มได้อีกครับ





จากคุณ : ผมเอง (ฟ้าสีหมอก)
เขียนเมื่อ : 24 ต.ค. 54 11:08:20





ติดต่อทีมงาน
ความคิดเห็นที่ 8

@@@ ข้อมูลข้างต้นเป็นข้อมูลที่ได้จากการสรุปผลแล้ว @@@

แต่เพื่อให้ทราบถึงกระบวนการทำงานทั้งหมด ผมก็จะเล่าให้ฟังตั้งแต่เริ่มแรก

แรกเลย ผมจะคัดเลือกเกษตรกรที่สนใจในการปลูกพืชผัก โดยเฉพาะคนที่ทำอยู่แล้วจะให้สิทธิ์ก่อน เพราะถือว่าจะวัดผลการใช้งานได้ง่ายกว่า คนที่ไม่เคยปลูกพืชซึ่งจะยุ่งยากกว่า

สำหรับพื้นที่ปลูก ผมกำหนดให้ประมาณ ๑๖๐ ตารางเมตร ตามความเหมาะสมของพื้นที่ ตรงไหนก็ได้ แต่ส่วนใหญ่เกษตรกรจะเลือกริมสระน้ำประจำไร่ หรือพื้นที่นาที่ว่างเว้นจากการทำนาปี

ชนิดของพืช ก็แล้วแต่เกษตรกรต้องการ พืชสวนครัว พืชไร่ ตามที่เกษตรกรต้องการปลูกครับ พืชที่ปลูกก็ค่อนข้างหลากหลายครับ เช่น ถั่วฝักยาว กระเจี๊ยบขาว พริก มะเขือเทศ ฟักทอง ผักชี บวบ เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อให้เกษตรกรได้ทราบถึงข้อดีของระบบสวนครัวน้ำหยดที่สามารถนำไปใช้กับพืชได้อย่างหลากหลาย

เมื่อได้เกษตรกร (รับเพียง ๑๐ ราย) แล้ว ก็นัดวันชี้แจงโครงการ และเกษตรกรจะต้องเข้าอบรมเรื่องระบบน้ำกับผมก่อน ๒ วัน เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจมากยิ่งขึ้น เรื่องความรู้นี้สำคัญมากครับ ถ้าเกษตรกรเข้าใจแล้วก็สามารถใช้งานได้อย่างถูกต้องครับ

การอบรมก็หาสถานที่ในหมู่บ้านนั่นแหละ ในต่างจังหวัดวัดยังเป็นที่พึ่งได้เสมอครับ ง่ายดีและสะดวกสบาย ว่ากันตามอัธยาศัย





จากคุณ : ผมเอง (ฟ้าสีหมอก)
เขียนเมื่อ : 24 ต.ค. 54 11:15:23





ติดต่อทีมงาน
ความคิดเห็นที่ 9

อัดแน่นไปด้วยเนื้อหา ที่พยายามปรับแล้วให้ง่ายที่สุดที่เกษตรกรสามารถเข้าใจได้ (ผมหวังว่ายังงั้นนะ ฮ่าๆๆ)





จากคุณ : ผมเอง (ฟ้าสีหมอก)
เขียนเมื่อ : 24 ต.ค. 54 11:17:16





ติดต่อทีมงาน
ความคิดเห็นที่ 10

เมื่ออบรมเสร็จแล้วก็ลงมือปฏิบัติกันเลย ผมทำหน้าที่แนะนำวิธีการติดตั้งให้ ที่เหลือเกษตรกรต้องช่วยกันเองแล้ว

โดยเกษตรกรต้องเตรียมพื้นที่เตรียมดินให้พร้อมที่จะปลูก และต้องเตรียมที่ตั้งถังให้เสร็จสรรพ โดยที่ตั้งถังนี้มีหลากหลายครับ แต่ที่แนะนำคือ ให้สูงประมาณ ๑ - ๑.๕ เมตร


ตามภาพเลยครับ





จากคุณ : ผมเอง (ฟ้าสีหมอก)
เขียนเมื่อ : 24 ต.ค. 54 11:25:19





ติดต่อทีมงาน
ความคิดเห็นที่ 11

เมื่อพื้นที่พร้อม คนพร้อม อุปกรณ์พร้อม ก็เริ่มกันเลยครับ

เริ่มจาก เจาะรูถังน้ำก่อนครับ โดยใช้สว่านและหัวสว่านโฮซอครับ ขนาดก็เลือกให้เหมาะสมกับขนาดของเกลียวท่อครับ แต่ถ้าไม่อยากซื้อก็ใช้ดอกสว่านธรรมดาดอกใหญ่หน่อยเจาะนำแล้วก็ใช้ตะไปท้องปลิง (หาซื้อได้ตามร้านทั่วไป) ขัดๆ ถูๆ แป๊บเดียวก็ได้แล้วครับ





จากคุณ : ผมเอง (ฟ้าสีหมอก)
เขียนเมื่อ : 24 ต.ค. 54 11:29:20





ติดต่อทีมงาน
ความคิดเห็นที่ 12

เจาะเสร็จแล้วก็ใช้ตะไปแต่งรูให้ได้ตามขนาดของข้อต่อต่อตรงเกลียวนอก ๑ นิ้ว

ขัดๆ ถูๆ





จากคุณ : ผมเอง (ฟ้าสีหมอก)
เขียนเมื่อ : 24 ต.ค. 54 11:31:00





ติดต่อทีมงาน
ความคิดเห็นที่ 13

เสร็จแล้วจะได้แบบนี้ กลมดิ๊กเลย

วิธีต่อท่อก็ให้ เอาข้อต่อเกลียวนอก ๑ นิ้ว พันด้วยเทปเกลียวให้หนาพอประมาณ ขันเข้าไปจากด้านนอกให้สุดเกลียว จากนั้นก็ใช้ข้อต่อเกลียวใน ๑ นิ้ว ขันล็อคด้านในถังครับ เท่านี้ก็แน่น แน๊น แน่นแล้วครับ ถ้าพันไม่ดีก็อาจจะมีน้ำซึมๆ ก็ใช้ดินน้ำมันปะๆ ก็ได้ หรือจะพันเกลียวใหม่ก็ได้ เดี๋ยวก็อยู่ครับ





จากคุณ : ผมเอง (ฟ้าสีหมอก)
เขียนเมื่อ : 24 ต.ค. 54 11:35:40





ติดต่อทีมงาน
ความคิดเห็นที่ 14

จากนั้นก็ต่อท่อโดยให้เริ่มจาก ต่อวาล์วพีวีซีก่อน ถ้าไม่ทากาวก็ให้ตอกให้แน่นครับ เมื่อต่อวาล์วเสร็จก็ต่อชุดกรองครับ กรองที่ใช้แนะนำให้ใช้กรองชนิดตะแกรงครับ เพราะน้ำจะไหลได้สะดวกครับ

ฝึกให้เกษตรกรต่อเองหมดครับ โดยจะคอยแนะนำให้





จากคุณ : ผมเอง (ฟ้าสีหมอก)
เขียนเมื่อ : 24 ต.ค. 54 11:38:05





ติดต่อทีมงาน
ความคิดเห็นที่ 15

ฝึกให้ทุกคนช่วยกันทำ จะได้ทำเป็นครับ

นี่กำลังต่อข้อเข้ากับเทปน้ำหยด





จากคุณ : ผมเอง (ฟ้าสีหมอก)
เขียนเมื่อ : 24 ต.ค. 54 11:40:48





ติดต่อทีมงาน
ความคิดเห็นที่ 16

ช่วยกันๆ





จากคุณ : ผมเอง (ฟ้าสีหมอก)
เขียนเมื่อ : 24 ต.ค. 54 11:41:49





ติดต่อทีมงาน
ความคิดเห็นที่ 17

โรยสายเทปน้ำหยดครับ





จากคุณ : ผมเอง (ฟ้าสีหมอก)
เขียนเมื่อ : 24 ต.ค. 54 11:42:47





ติดต่อทีมงาน
ความคิดเห็นที่ 18

เจาะท่อเพื่อติดข้อต่อสำหรับต่อเทปน้ำหยดครับ จะใช้วิธีเจาะหรือใช้สามทางก็ได้ครับ ไม่ผิดแต่อย่างใดครับ





จากคุณ : ผมเอง (ฟ้าสีหมอก)
เขียนเมื่อ : 24 ต.ค. 54 11:44:03





ติดต่อทีมงาน
ความคิดเห็นที่ 19

เจาะแล้วก็ใส่ลูกยางกันซึมกันรั่วครับ การเจาะจะต้องใช้ดอกโฮซอให้ขนาดพอดีนะครับ ใหญ่ไปก็หลวมน้ำรั่ว ถ้าเล็กไปก็ยัดข้อต่อยาก เวลายัดข้อต่ออาจจะใช้น้ำยาล้างจานลูบๆ ก่อนก็ได้ครับ จะได้ลื่นๆยัดง่ายๆ





จากคุณ : ผมเอง (ฟ้าสีหมอก)
เขียนเมื่อ : 24 ต.ค. 54 11:53:28





ติดต่อทีมงาน
ความคิดเห็นที่ 20

ใส่ข้อต่อแล้วจะเป็นแบบในรูปครับ ผาสีเขียวนั้นสำหรับใช้เทปน้ำหยดมาสวมเข้าไปแล้วก็ขันล็อคให้แน่น ทำได้ง่ายๆครับ

ตัวข้อต่อเทปน้ำหยดนี้ จะใช้รุ่นมีวาล์วหรือไม่มีวาล์วก็ได้ครับ





จากคุณ : ผมเอง (ฟ้าสีหมอก)
เขียนเมื่อ : 24 ต.ค. 54 11:55:38





ติดต่อทีมงาน
ความคิดเห็นที่ 21

หรือถ้าการเจาะยุ่งยากไป ก็ใช้แบบข้อต่อเทปน้ำหยดแบบเกลียวนอกแทนก็ได้ครับ ง่ายดี





จากคุณ : ผมเอง (ฟ้าสีหมอก)
เขียนเมื่อ : 24 ต.ค. 54 11:58:35





ติดต่อทีมงาน
ความคิดเห็นที่ 22

เสร็จแล้วจะมีหน้าตาเหมือนในรูปครับ

เรื่องข้อต่อนี้แล้วแต่คนออกแบบเลือกใช้ไม่มีผิดไม่มีถูก

แต่การต่อแบบนี้ไม่เหมาะสำหรับพื้นที่กว้างๆ เพราะจะเปลืองข้อต่อสามทางและข้อต่อเกลียวใน





จากคุณ : ผมเอง (ฟ้าสีหมอก)
เขียนเมื่อ : 24 ต.ค. 54 12:00:32





ติดต่อทีมงาน
ความคิดเห็นที่ 23

ต่อเสร็จแล้วจะเป็นแบบนี้ครับ





จากคุณ : ผมเอง (ฟ้าสีหมอก)
เขียนเมื่อ : 24 ต.ค. 54 12:02:29





ติดต่อทีมงาน
ความคิดเห็นที่ 24

เมื่อทุกอย่างเสร็จเรียบร้อย ก็ทดลองเปิดน้ำครับ





จากคุณ : ผมเอง (ฟ้าสีหมอก)
เขียนเมื่อ : 24 ต.ค. 54 12:03:59





ติดต่อทีมงาน
ความคิดเห็นที่ 25

ให้ดูชนิดของเทปน้ำหยดครับ มีหลายรูปแบบหลายยี่ห้อ ถูกแพงก็เลือกได้ครับ

แบบหยดด้านข้าง สังเกตที่รอน้ำเข้าและรูน้ำออกนะครับ เวลาน้ำไหลเข้ามา น้ำจะไหลผ่านรูไส้ไก่เพื่อให้น้ำหยดได้สม่ำเสมอหยดเท่าๆ กันในทุกๆ รูครับ





จากคุณ : ผมเอง (ฟ้าสีหมอก)
เขียนเมื่อ : 24 ต.ค. 54 12:06:34





ติดต่อทีมงาน
ความคิดเห็นที่ 26

แบบนี้ชุดไส้ไก่จะติดอยู่ที่ผนังท่อครับ





จากคุณ : ผมเอง (ฟ้าสีหมอก)
เขียนเมื่อ : 24 ต.ค. 54 12:07:23





ติดต่อทีมงาน
ความคิดเห็นที่ 27

หรือแบบนี้ ชุดไส้ไก่จะเป็นแถบติดยาวตลอดแนว ช่วยให้สามารถวางเทปน้ำหยดได้ยาวถึง ๒๒๐ เมตร ต่อเส้น





จากคุณ : ผมเอง (ฟ้าสีหมอก)
เขียนเมื่อ : 24 ต.ค. 54 12:09:13





ติดต่อทีมงาน
ความคิดเห็นที่ 28

ขอบคุณ คุณฟ้าสีหมอก มากคะ
รอเก็บข้อมูล ช่วงนี้หมดฝนแล้ว
ผักสวนครัวกำลังต้องการน้ำ เผื่อจะได้นำไปใช้ประโยชน์

จากคุณ : นอเก้น [Bloggang]
เขียนเมื่อ : 24 ต.ค. 54 12:22:12





ติดต่อทีมงาน
ความคิดเห็นที่ 29

ถ้าเป็นท่อน้ำหยด จะเหมาะสำหรับพืชยืนต้น พวกไม้ผล ครับ





จากคุณ : ผมเอง (ฟ้าสีหมอก)
เขียนเมื่อ : 24 ต.ค. 54 12:22:18





ติดต่อทีมงาน
ความคิดเห็นที่ 30

ให้ดูน้ำต้นทุนที่เกษตรกรนำมาใช้กับเทปน้ำหยดครับ เป็นสระประจำไร่นาครับ ในหน้าแล้งน้ำจะมีปริมาณน้อยมาก และขุ่น ปกติเกษตรกรไม่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการปลูกพืชในหน้าแล้งได้ ผมจึงต้องการพิสูจน์ให้เกษตรกรเห็นว่า ระบบสวนครัวน้ำหยดนั้น ประหยัดมากแค่ไหน ถ้าทำได้จะช่วยให้เกษตรกรสามารถปลูกพืชเพื่อกินและเพื่อขายได้

ในการปลูกพืชที่ผมทดลองนี้ พื้นที่ ๑๖๐ ตารางเมตร (กว้าง ๑๐ ยาว ๑๖ เมตร) แปลงที่ใช้น้ำมากที่สุด ใช้ไป ๕๐ ลบ.ม. หรือ ๕๐,๐๐๐ ลิตร (ไม่เกิน ๑๐๐ วัน) ถ้าเป็นน้ำประปาก็เสียค่าน้ำประมาณ ๕๐๐ บาท (หน่วยละ ๑๐ บาท) ครับ





จากคุณ : ผมเอง (ฟ้าสีหมอก)
เขียนเมื่อ : 24 ต.ค. 54 12:28:51





ติดต่อทีมงาน
ความคิดเห็นที่ 31

แบบนี้





จากคุณ : ผมเอง (ฟ้าสีหมอก)
เขียนเมื่อ : 24 ต.ค. 54 12:29:32





ติดต่อทีมงาน
ความคิดเห็นที่ 32

หรือแบบนี้





จากคุณ : ผมเอง (ฟ้าสีหมอก)
เขียนเมื่อ : 24 ต.ค. 54 12:30:02





ติดต่อทีมงาน
ความคิดเห็นที่ 33

แต่เกษตรกรก็มีวิธีจัดการกับน้ำครับ โดยจะใช้วิธีเติมน้ำใส่ถังไว้ก่อนประมาณ ๑ คืน เพื่อให้น้ำตกตะกอนก่อน ก็ช่วยได้ส่วนนึงครับ

ในรูปจะเห็นว่านี่เป็นเหตุผลว่าทำไมจึงเจาะถังสูงกว่าก้นถังเล็กน้อย





จากคุณ : ผมเอง (ฟ้าสีหมอก)
เขียนเมื่อ : 24 ต.ค. 54 12:31:56





ติดต่อทีมงาน
ความคิดเห็นที่ 34

ติดตั้งกันค่ำมืดดึกดื่น ไม่มีท้อครับ





จากคุณ : ผมเอง (ฟ้าสีหมอก)
เขียนเมื่อ : 24 ต.ค. 54 12:36:04





ติดต่อทีมงาน
ความคิดเห็นที่ 35

เมื่อติดตั้งเสร็จ ก็จะแนะนำวิธีการจดบันทึกข้อมูลครับ เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการจะต้องจดบันทึกการให้น้ำทุกครั้งที่เปิดให้น้ำ เช่น วันเวลาที่ให้น้ำ ปริมาณน้ำที่ให้ในแต่ละครั้ง การใส่ปุ๋ย การพรวนดิน วันที่เริ่มงอก วันที่เริ่มออกดอก วันที่เก็บผลผลิต ปริมาณผลผลิตที่เก็บไปขายหรือกินในแต่ละวัน โดยจะคิดเป็นจำนวนกิโลกรัมหรือนับจากเงินที่ขายได้ก็ได้ครับ

การเก็บข้อมูลนี้เกษตรกรให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีครับ จดให้ละเอียดยิบเลย

บางบ้านยังไม่มีไฟฟ้าครับ จึงต้องใช้ไฟรถยนต์กันแบบนี้แหละครับ





จากคุณ : ผมเอง (ฟ้าสีหมอก)
เขียนเมื่อ : 24 ต.ค. 54 12:39:55





ติดต่อทีมงาน
ความคิดเห็นที่ 36

เสร็จขั้นตอนการติดตั้งระบบ ก็มาถึงขึ้นตอนการติดตามผลแล้วครับ ตามมาดูกันเลยครับ

ประมาณ ๑ เดือนให้หลังครับ

งอกให้เห็นกันแล้วครับ การปลูกนี้เกษตรกรจะปลูกไม่พร้อมกันครับ ใครพร้อมก็ปลูกก่อน

ชื่นใจๆ





จากคุณ : ผมเอง (ฟ้าสีหมอก)
เขียนเมื่อ : 24 ต.ค. 54 12:40:40





ติดต่อทีมงาน
ความคิดเห็นที่ 37

เห็นอย่างนี้เกษตรกรก็ชื่นใจแล้วครับ

"ไม่น่าเชื่อแค่น้ำหยดๆๆๆ จะเปียกพอให้พืชงอกได้" คำพูดจากเกษตรกรบางราย





จากคุณ : ผมเอง (ฟ้าสีหมอก)
เขียนเมื่อ : 24 ต.ค. 54 12:42:08





ติดต่อทีมงาน
ความคิดเห็นที่ 38

แปลงนี้ บอกชอบมาก หลังจากปลูกแค่ ๓ วัน ต้นถั่วฝักยาว น้อยๆ ก็แทงใบออกมาอวดแล้ว เพี่เขาบอกว่าถ้ารดน้ำแบบเดิมประมาณ ๕ วันจึงจะเห็นใบอ่อนครับ

ชื่นใจทั้งคนปลูก ชื่นใจทั้งคนส่งเสริม





จากคุณ : ผมเอง (ฟ้าสีหมอก)
เขียนเมื่อ : 24 ต.ค. 54 12:44:12





ติดต่อทีมงาน
ความคิดเห็นที่ 39

ตามไปดูแปลงอื่นหน่อยเป็นยังไง

ไปดูผักชีกันต่อเลยครับ ผักกินใบต้องการความชื้นสูง ต้องรดน้ำ ๒ ครั้งต่อวัน งอกแล้วๆๆ





จากคุณ : ผมเอง (ฟ้าสีหมอก)
เขียนเมื่อ : 24 ต.ค. 54 12:45:53





ติดต่อทีมงาน
ความคิดเห็นที่ 40

พริกบ้าง แปลงนี้เพาะเบี้ยพริกไว้รอตนแก่ เลยดูกระแด่งๆ ครั้ง แต่ก็เกิดออกดอกออกผลนะ





จากคุณ : ผมเอง (ฟ้าสีหมอก)
เขียนเมื่อ : 24 ต.ค. 54 12:47:40





ติดต่อทีมงาน
ความคิดเห็นที่ 41

มะเขือก็ได้นะครับ





จากคุณ : ผมเอง (ฟ้าสีหมอก)
เขียนเมื่อ : 24 ต.ค. 54 12:48:42





ติดต่อทีมงาน
ความคิดเห็นที่ 42

ฟักทองก็ใช้น้ำหยดได้ครับ ใบอวบยอดงาม เหมาะสำหรับผัดน้ำมันหอยเลย

เฉพาะเก็บยอดและดอกขายก็ได้เกิน ๓,๐๐๐ แล้วครับ คุ้มจริงๆ





จากคุณ : ผมเอง (ฟ้าสีหมอก)
เขียนเมื่อ : 24 ต.ค. 54 12:50:24





ติดต่อทีมงาน
ความคิดเห็นที่ 43

นี่ก็พริกครับ ปลูกในสภาพดินที่แย่มากๆ ดินก้นสระครับ แต่ก็เกิดเหมือนกัน





จากคุณ : ฟ้าสีหมอก
เขียนเมื่อ : 24 ต.ค. 54 12:53:29





ติดต่อทีมงาน
ความคิดเห็นที่ 44

เวลาผ่านไปไวเหมือนโกหกครับ หลังจากเก็บข้อมูลครั้งแรกแล้ว ผมก็ออกเก็บอีก ๒ ครั้งครับ เพื่อสังเกตการเจริญเติมโต และรับทราบปัญหาต่างๆจากการใช้งานของผู้ใช้

ตามผมมาดูรูปเมื่อพืชผักเราโตจนเริ่มเก็บเกี่ยวผลผลิตได้แล้ว

เริ่มที่ กระเจี๊ยบขาว และถั่วฝักยาวครับ

ยิ้มกันแก้มปริ





จากคุณ : ผมเอง (ฟ้าสีหมอก)
เขียนเมื่อ : 24 ต.ค. 54 12:57:02





ติดต่อทีมงาน
ความคิดเห็นที่ 45

ถั่วฝักยาว





จากคุณ : ผมเอง (ฟ้าสีหมอก)
เขียนเมื่อ : 24 ต.ค. 54 12:57:47





ติดต่อทีมงาน
ความคิดเห็นที่ 46

ผักชี





จากคุณ : ผมเอง (ฟ้าสีหมอก)
เขียนเมื่อ : 24 ต.ค. 54 12:58:29





ติดต่อทีมงาน
ความคิดเห็นที่ 47

ทะยอยขายด้วยครับ ช่วยหน้าร้อน - ต้นหน้าฝนนี้ ผักราคาดีครับ
ผักชีกิโลละ ๗๐ - ๒๕๐ บาทครับ

ผักชี ๓ แปลง ขายได้ ๔,๕๐๐ บาท ชื่นใจจัง





จากคุณ : ผมเอง (ฟ้าสีหมอก)
เขียนเมื่อ : 24 ต.ค. 54 13:01:47





ติดต่อทีมงาน
ความคิดเห็นที่ 48

หลังจากผ่านไปประมาณ ๒ เดือน ผมก็ได้เข้าไปเพื่อเก็บข้อมูล ที่สำคัญคือ
ไปวัดปริมาณน้ำที่ไหลผ่านรูน้ำหยดครับ เพราะว่าสภาพน้ำค่อนข้างจะมีตะกอนมาก

วิธีการวัดก็สุ่มวัดในแต่ละแปลง โดยใช้แก้วกาแฟนำไปวางไว้ในตำแหน่งต่างๆ คือหัวแปลง กลางแปลง และท้ายแปลง จำนวน ๕ ใบ แล้วใช้วิธีเปิดให้น้ำตามปกติ จับเวลา ๕ นาที จากนั้นก็วัดปริมาณน้ำที่ได้โดยใช้หลอดฉีดยา ๓ ซีซีและ ๕ ซีซี นำมาเปรียบเทียบกัน

ในการเก็บข้อมูลนี้ ผมควบคุมตัวแปรต่างๆ เพื่อให้ผลที่ออกมา มีความน่าเชื่อถือมากที่สุด และที่สำคัญ ต้องซื่อสัตย์ต่อข้อมมูลที่ได้ครับ จึงจะได้ข้อมูลที่แท้จริง





จากคุณ : ผมเอง (ฟ้าสีหมอก)
เขียนเมื่อ : 24 ต.ค. 54 13:10:05





ติดต่อทีมงาน
ความคิดเห็นที่ 49

เริ่มจาก เปิดน้ำให้เต็มถัง ๒๐๐ ลิตรก่อน





จากคุณ : ผมเอง (ฟ้าสีหมอก)
เขียนเมื่อ : 24 ต.ค. 54 13:11:22





ติดต่อทีมงาน
ความคิดเห็นที่ 50

จากนั้นก็ล้างไส้กรองให้สะอาดครับ





จากคุณ : ผมเอง (ฟ้าสีหมอก)
เขียนเมื่อ : 24 ต.ค. 54 13:12:22





ติดต่อทีมงาน
ความคิดเห็นที่ 51

เมื่อทุกอย่างพร้อมก็เปิดให้น้ำกันเลยครับ





จากคุณ : ผมเอง (ฟ้าสีหมอก)
เขียนเมื่อ : 24 ต.ค. 54 13:13:26





ติดต่อทีมงาน
ความคิดเห็นที่ 52

เสร็จแล้วก็นำน้ำมาเทียบกันดู

เมื่อสังเกตปริมาณที่วัดได้จากตำแหน่งต่างๆ ในแปลงแล้ว จะเห็นว่าปริมาณที่ได้ค่อนข้างสม่ำเสมอกันแม้จะผ่านกันใช้งานซักระยะนึงแล้วก็ตามครับ ซึ่งผมถือว่าดีมากๆ เลยครับเมื่อดูจากคุณภาพน้ำแล้ว ปลื้มเลยแหละ





จากคุณ : ผมเอง (ฟ้าสีหมอก)
เขียนเมื่อ : 24 ต.ค. 54 13:15:37





ติดต่อทีมงาน
ความคิดเห็นที่ 53

จากนั้นก็วัดปริมาณน้ำกันเลย





จากคุณ : ผมเอง (ฟ้าสีหมอก)
เขียนเมื่อ : 24 ต.ค. 54 13:16:22





ติดต่อทีมงาน
ความคิดเห็นที่ 54

จดๆๆๆๆๆๆ บันทึกๆๆๆๆๆๆ





จากคุณ : ผมเอง (ฟ้าสีหมอก)
เขียนเมื่อ : 24 ต.ค. 54 13:19:21





ติดต่อทีมงาน
ความคิดเห็นที่ 55

เจ้านายก็ตามมาดูด้วยนะ แหมก็ใช้ทุนวิจัยไปเป็นแสน ต้องให้คุ้มค่าซิ





จากคุณ : ผมเอง (ฟ้าสีหมอก)
เขียนเมื่อ : 24 ต.ค. 54 13:21:53





ติดต่อทีมงาน
ความคิดเห็นที่ 56

เมื่อเก็บข้อมูลจนมาถึงช่วงสุดท้ายของโครงการ เกษตรกรก็สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตจนใกล้จะหมดแล้ว ก็มาถึงขั้นตอนสุดท้ายของโครงการ คือการสรุปบทเรียน เพื่อให้ทราบถึงข้อดีข้อด้อยของระบบสวนครัวน้ำหยด จากผู้ใช้งานอย่างแท้จริง อันจะเป็นประโยชน์ต่อการนำไปปรับปรุงแก้ไขระบบต่อไปครับ





จากคุณ : ผมเอง (ฟ้าสีหมอก)
เขียนเมื่อ : 24 ต.ค. 54 13:27:24





ติดต่อทีมงาน
ความคิดเห็นที่ 57

ผลที่ได้ก็สรุปไว้ใน คห.๔ ครับ

สำหรับพืชที่เกษตรกรปลูกในครั้งนี้ ทุกแปลงปลูกโดยวิธีการปลูกแบบอินทรีย์ครับ พืชผักที่ได้จึงอาจจะไม่สวย แต่ก็ปลอดภัยสำหรับคนปลูกและคนกินมากๆ หากปลูกแบบธรรมดาผักจะสวยกว่านี้ครับ แต่ก็เคลือบไปด้วยสารพิษ

นอกจากนี้ ระบบสวนครัวน้ำหยดยังสามารถนำไปใช้กับคนเมืองที่มีพื้นที่ว่างสามารถปลูกพืชได้ครับ อาจจะปลูก หน้าบ้าน หลังบ้าน ข้างบ้านก็ได้ครับ ใช้น้ำประปาก็ได้ครับไม่มีปัญหา จะปรับปรุงติดเป็นระบบอัตโนมัติก็ได้เช่นเดียวกันครับ ใช้ปลูก ดอกไม้ก็ได้ ไม้ผลก็ได้ ผักก็ได้ มีผักไว้กินเอง ทั้งปลอดภัย ทั้งได้ออกกำลังกายทั้งครอบครัวครับ เพิ่มพื้นที่สีเขียวให้บ้านอีกครับ

จากการนำไปออกบูธวันเกษตรแห่งชาติที่โคราช คนเมืองให้ความสนใจพอสมควรเลยครับ





จากคุณ : ผมเอง (ฟ้าสีหมอก)
เขียนเมื่อ : 24 ต.ค. 54 13:38:54





ติดต่อทีมงาน
ความคิดเห็นที่ 58

ใช้กับไม้ผล ก็เปลี่ยนมาใช้หัวน้ำหยดแทน ถ้าจะให้ดีก็แนะนำให้ใช้หัวน้ำหยดชนิดชดเชยแรงดัน แพงกว่านิดแต่หมดปัญหาเรื่องน้ำหยดได้ไม่เท่ากัน





จากคุณ : ผมเอง (ฟ้าสีหมอก)
เขียนเมื่อ : 24 ต.ค. 54 13:41:22





ติดต่อทีมงาน
ความคิดเห็นที่ 59

ระบบน้ำที่ดี จะต้องเหมาะสมกับผู้ใช้งานครับ

เราไม่หาระบบที่ดีที่สุด แต่เราพิจารณาเลือกระบบที่เหมาะสมกับเราให้มากที่สุดก็พอครับ

ระบบสวนครัวน้ำหยดนี้ ความมุ่งหวังที่สำคัญของผมก็คือ เพื่อให้เกษตรกรได้เกิดการเรียนรู้ระบบ สร้างองค์ความรู้ขึ้นมา เพื่อให้เกษตรกรมีความมั่นใจในระบบน้ำหยด ส่งเสริมให้เกษตรกรเข้าถึงเทคโนโลยีที่ทันสมัย มีประสิทธิภาพสูง ใช้งานง่าย สามารถพึ่งพาตัวเองได้ ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงครับ อันจะนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนสืบไป





จากคุณ : ผมเอง (ฟ้าสีหมอก)
เขียนเมื่อ : 24 ต.ค. 54 13:48:40





ติดต่อทีมงาน
ความคิดเห็นที่ 60

รูปนี้ผมชอบมากครับ ถ่ายได้จากบ้านเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ

เมื่อก่อนพี่เขาเป็นลูกจ้างทำงานในกรุงเทพ มีหนี้สินมากมาย สุดท้ายตัดสินใจกลับมาทำเกษตรโดยมีเจ้าหน้าที่เข้าไปช่วยเหลือให้ความรู้ต่างๆ ด้วยเป้นคนขยันทำจริงๆ เวลาผ่านไป ๑๐ ปี ทุกอย่างออกดอกออกผล สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้อย่างแล้ว ทุกวันนี้ มีพืชผัก มีปลากิน สามารถพึ่งพาตัวเองได้แล้วครับ

เกษตรทำไว้ไม่อดตายครับ





จากคุณ : ผมเอง (ฟ้าสีหมอก)
เขียนเมื่อ : 24 ต.ค. 54 13:53:29





ติดต่อทีมงาน
ความคิดเห็นที่ 61

เยี่ยมครับ มีประโยชน์มาก ผมจะลองเอาไปทำดูบ้างครับ

จากคุณ : REDPIG-AROI
เขียนเมื่อ : 24 ต.ค. 54 14:24:19





ติดต่อทีมงาน
ความคิดเห็นที่ 62

เยี่ยมมากๆครับ

ผมขอถามหน่อยครับ
ในระดับความสูง 1.5-2.0 เมตร เราสามารถลากสายท่อน้ำหยดได้ยาวสุดที่กี่เมตรครับ
แล้วในการเปิดพร้อมกันนี่ได้สูงสุดกี่สายครับ

ปล....ในการพัฒนาต่อยอด
ผมอยากให้เ็ป็นการให้ปุ๋ยพร้อมน้ำไปเลย
เพื่อเป็นการประหยัดปุ๋ยครับ

เพราะถ้าเราให้ปุ๋ยได้น้อย แต่บ่อยครั้งจะดีกว่าการใ้ห้ครั้งเดียวครับ

มีคำถามว่า...ถ้าแบบนั้นก็แพงสิ ปุ๋ยสำหรับระบบท่อมันแพง
แล้วจะไปซื้อปุ๋ยแพงทำไม ก็เอาปุ๋ยทางดินนี่หละ
ยี่ห้อดีๆที่เป็นคอมปาวด์
เอามาแช่น้ำสักคืนกวนๆๆๆ
เอาแต่ส่วนใสๆ ไปผสมกับน้ำในถังครับ
ส่วนกากๆ ก็เอาไปใส่ต้นไม่ใหญ่ๆได้ครับ


แล้วถ้าอยากใส่ปุ๋ยอินทรีย์หละ...
ก็เหมือนกัน
เอามาหมักๆในถังแยกก่อนเหมือนกัน
สักวันสองวัน
แล้วค่อยผสมน้ำในถังปล่อยออกไป


ถามว่าอัตราของทั้งคู่เท่าไร
ไม่รู้ครับ
ต้องทดลอง
แต่ตั้งสมมุติฐานว่า
เมื่อก่อนหนึ่งไร่ ใส่กี่วันครั้ง
แล้วคิดย้อนกลับครับ
ไม่ยากเกินไปครับ


ลองดูนะครับ

ปล..กิฟท์หมดนะครับ

ขอบคุณสำหรับข้อมูลนะครับ
สุดยอดเลย...

ใครปลูกผักสวนครัวก็ทำได้ด้วยอีกต่างหาก....

จากคุณ : seto16 [FriendFlock] [Bloggang]
เขียนเมื่อ : 24 ต.ค. 54 15:27:23

refer: http://topicstock.pantip.com/jatujak/topicstock/2011/10/J11238646/J11238646.html
ขึ้นไปด้านบน