สปริงเกลอร์ sprinkler ระบบน้ำอัตโนมัติ water timer บ้าน สวน โรงแรม
Facebook SprinklerHome Line SprinklerHome.com Youtube SprinklerHome

ระบบสปริงเกอร์ น้ำหยด แก่ พืช



วิธีการให้น้ำแก่พืช

ค่าสัมประสิทธิ์ภาพของการให้น้ำนั้น ขึ้นอยู่กับวิธีการให้น้ำแก่พืช ดังนั้น ก่อนที่จะเลือกวิธีการให้น้ำชนิดใด ก็ควรที่จะศึกษาถึงประสิทธิภาพของการให้น้ำด้วยวิธีนั้นๆ ด้วย รวมไปถึงปัจจัยต่างๆ อันได้แก่ ลักษณะภูมิประเทศ คุณสมบัติของดิน ลักษณะของพื้นที่ที่เตรียมไว้ พืชที่ปลูก และวิธีการเพาะปลูก เงินค่าลงทุน ฯลฯ

ดังจะเห็นได้ว่า วิธีการให้น้ำที่ดี มีประสิทธิภาพของการให้น้ำสูงนั้นราคาค่าลงทุนก็จะสูงตามไปด้วย เพราะฉะนั้น ก่อนที่จะลงทุน ควรจะศึกษาถึงผลประโยชน์ที่จะได้รับ ว่าคุ้มค่ากับที่ลงทุนไปหรือไม่

วิธีการให้น้ำแก่พืชนั้นสามารถแบ่งออกได้เป็น 4 แบบใหญ่ๆ ด้วยกัน คือ



ก. การให้น้ำแบบฉีดฝอย (Sprinkler lrrigation)

ข. การให้น้ำทางผิวดิน (Surface Irrigation)

ค. การให้น้ำทางใต้ผิวดิน (Subsurface Irrigation)

ง. การให้น้ำแบบหยด (Drip or Trickle Irrigation)




สำหรับในรูปแบบการให้น้ำย่อยจากหัวข้อที่ให้มานี้และในเรื่องการคำนวณออกแบบระบบการให้น้ำ จะไม่ขอกล่าวถึง ถ้าผู้ใดสนใจ สามารถศึกษาจากคู่มือ

- หลักการชลประทานแบบหยด และการออกแบบระบบสปริงเกลอร์สำหรับงานนิทิทัศน์ ของ รศ. มนตรี ค้ำชู

- การออกแบบระบบชลประทานผิวดิน ของ ดร. วราวุธ วุฒิวณิชย์




การคำนวณปริมาณน้ำเพื่อการเพาะปลูกของโครงการ



ในการคำนวณหาปริมาณน้ำเพื่อการเพาะปลูกในพื้นที่เขตโครงการเพื่อวางงานโครงการ นิยมหาปริมาณความต้องการใช้น้ำเป็นรายเดือนตลอดทั้งปี เพื่อนำค่าความต้องการน้ำรายเดือนไปคำนวณหาปริมาตรเก็บกักของอ่างเก็บน้ำ หรือปริมาณน้ำที่จะต้องผันจากหัวงานเข้าคลองส่งน้ำต่อไป

การคำนวณหาปริมาณความต้องการใช้น้ำรายเดือนของโครงการ ซึ่งต้องอาศัยข้อมูลต่างๆ ดังต่อไปนี้



1. แผนการปลูกพืชของโครงการ (Cropping Pattern)

2. ชนิดของพืชที่ปลูก

3. ค่าสัมประสิทธิ์การใช้น้ำของพืชแต่ละชนิด (Crop Coeffcient)

4. ค่าการใช้น้ำของพืชอ้างอิง (Potential Evapotranspiration)

5. ค่าการใช้น้ำของพืชที่แท้จริง (Evapotranspiration)

6. ปริมาณฝนเฉลี่ยในแต่ละเดือน (Average Monthly Rainfall)

7. การรั่วซึมเลยเขตรากพืช (Percolation)

8. ประสิทธิ์ภาพของโครงการชลประทาน (Irrigation Efficiency)




สามารถทำการคำนวณตามขั้นตอนได้ดังนี้




1. จากแผนการปลูกพืชทำให้ทราบว่าในรอบ 1 ปีนั้นปลูกพืชชนิดใดบ้าง

2. คำนวณหาค่าการใช้น้ำของพืชแต่ละชนิด ตลอดระยะเวลาการเจริญเติบโตของพืช จากสมการ ET = Kc . ETp โดยแบ่งออกเป็นช่วงตามค่า Kc

3. หาปริมาณน้ำที่ต้องจัดหามาให้แก่พืช จากสูตร En = ET + P - Re

4. หาปริมาณน้ำที่จะต้องจัดส่งเข้าระบบส่งน้ำ โดยหารค่าที่ได้จากข้อ 3 ด้วยค่าสัมประสิทธิภาพของโครงการชลประทาน

5. ทำการรวมปริมาณน้ำเป็นรายเดือน (โดยคิดตามช่วงที่กำหนดก่อน แล้วคูณด้วยจำนวนวันในช่วงนั้น หลังจากนั้นก็รวมให้เป็นปริมาณน้ำที่ต้องส่งให้กับระบบส่งน้ำเป็นรายเดือน) หน่วยเป็น มม. / เดือน

6. ทำการเปลี่ยนปริมาณการใช้น้ำในข้อ 5 ให้เป็นหน่วยปริมาตร/เดือน คือ ม.3/เดือน/ไร่

7. ทำการเปลี่ยนหน่วยในข้อ 5 ให้เป็นค่าชลภาระ จากสูตร

Q = X ´ 1000


N ´24 ´3600

Q = ค่าชลประทาน (ลิตร/วินาที/ไร่)

X = ค่าที่ได้จากการคำนวณในข้อ 6

N = จำนวนวันในแต่ละเดือน


8. ทำการรวม ปริมาณการใช้น้ำของพืชทุกประเภทที่จัดไว้ใน Crop Pattern

refer: http://www.oknation.net/blog/print.php?id=548907
ขึ้นไปด้านบน