สปริงเกลอร์ sprinkler ระบบน้ำอัตโนมัติ water timer บ้าน สวน โรงแรม
Facebook SprinklerHome Line SprinklerHome.com Youtube SprinklerHome

ระบบการให้น้ำพืช (ข้อมูลจากการอบรมเกษตรทฤษฎีใหม่)



ระบบการให้น้ำพืช
การออกแบบขนาดท่อเพื่อใช้ให้น้ำในแปลงปลูกพืช ข้อมูลทั้งหมดเกี่ยวกับการออกแบบขนาดท่อและการคำนวณการสูญเสียแรงดันของน้ำภายในท่อที่กล่าวแล้วทั้งหมด เป็นข้อมูลเบื้องต้นที่สามารถนำใช้ในการคำนวณหาปริมาณน้ำและออกแบบขนาดท่อ เฉพาะที่เท่านั้น การออกแบบขนาดที่เพื่อใช้ในการให้น้ำในแปลงปลูกพืช ต้องออกแบบท่อหมดทั้งระบบ
ตัวอย่าง สมมุติปลูกไม้ยืนต้นระยะห่าง 4 เมตร ระยะห่างระหว่างแถว 6 เมตร แต่ละโซนมีขนาด 40 x 80 เมตร อัตราให้น้ำ 100 ลิตร/ต้น/ชั่วโมง(หัวจ่ายน้ำขนาด 100 ลิตร/ชม. มีค่าแรงดันประมาณ 10 เมตร)

1. การออกแบบท่อแขนง
1.1 จำนวนต้นต่อ 1 แนวท่อแขนง = ความยาวท่อแขนง
ระยะห่างระหว่างต้น
= 80 /4
= 20 ต้น หรือ 20 จุดจ่ายน้ำ
1.2 หาอัตราการไหลของน้ำในท่อแขนง
= จำนวนต้น x อัตราการให้น้ำ
= 20 x 100 ลิตร/ต้น/ชั่วโมง
= 2,000 ลิตร/ชั่วโมง หรือ 2 ม3/ชั่วโมง
1.3 การออกแบบ ใช้ตารางที่
1.3.1 ใช้ตารางออกแบบขนาดและแรงเสียดทานท่อ LDPE ชั้น 2.5 สำหรับท่อ PE
1.3.2 ใช้ตารางออกแบบขนาดและแรงเสียดทานท่อ PVC ชั้น 8.5 สำหรับท่อ PVC
(ใช้สำหรับท่อแขนงขนาดไม่เกิน 20 มม. ถ้าใช้ท่อขนาดโตกว่านี้ราคาจะแพงกว่า)
1.4 กำหนดความเร็ว (V) ในการออกแบบท่อแขนง 2 ม./วินาที เมื่อเปิดตารางที่ 11.3 มีความเร็ว 2 ม./วินาที ท่อ 16 มม. ให้อัตราการไหล 1.05 ม3 /ชั่วโมง อัตราการไหลของน้ำจาก 1.2 เท่ากับ 2 ม3 /ชั่วโมง ใช้ท่อ 16 มม. ไม่ได้ ต่อไปดูที่ท่อ 20 มม. ที่ความเร็ว 2 ม./วินาที ให้อัตราการไหล 1.73 ม3 /ชั่วโมง น้อยกว่า 2 ม3 /ชั่วโมง ใช้ไม่ได้ ต่อไปดูตารางที่ 13.2 ท่อ PVC ขนาด
¾ นิ้ว ที่ความเร็ว 2.05 ม./วินาที ให้อัตราการไหล 2.8 ม3 /ชั่วโมง มากกว่า 2 ม3 /ชั่วโมง
แสดงว่าใช้ท่อแขนงขนาด ¾ นิ้วได้

2. การออกแบบท่อประธานย่อย
2.1 จำนวนท่อแขนง = ความยาวหัวแปลง (ม.)
ระยะห่างระหว่างแถว x 2
= 40 / (6 x 2)
= 3.3 หรือ = 3 แถว
หาอัตราการไหลในท่อประธานย่อย
= จำนวนท่อแขนง x อัตราการไหลของน้ำในท่อแขนง
= 3 x 2 ม3 /ชั่วโมง/ท่อแขนง
= 6 ม3 /ชั่วโมง
2.2 การออกแบบท่อประธานย่อยโดยใช้ตารางที่ 13.2 ท่อ PVC ที่ความเร็ว 2 ม./วินาที จะพบว่าท่อ PCV ขนาด 11/2 นิ้ว ที่ความเร็ว 2 ม./วินาที ให้อัตราการไหลของน้ำ 10.75 ม3 /ชั่วโมง มากกว่า 6 ม3 /ชั่วโมง แสดงว่าใช้ได้

3. การออกแบบท่อประธาน
3.1 หาอัตราการไหลของท่อประธาน ตามปกติจะเป็น 2 เท่าของท่อประธานย่อยเพราะฉะนั้น อัตราการไหลของท่อประธานย่อย
= จำนวนท่อแขนง x อัตราการไหลของท่อแขนง
= 6 x 2 ม3 /ชั่วโมง
= 12 ม3 /ชั่วโมง
3.2 การออกแบบท่อประธานใช้ตาราง 11.4 ท่อ PVC กำหนดความเร็วออกแบบ 1.5 ม./ วินาที ดูที่ขนาดท่อ 2 นิ้ว มีความเร็ว 1.5 ม./วินาที ให้อัตราการไหล 12.5 ม3 /ชั่วโมง แสดงว่าใช้ได้

4. การออกแบบปั้มน้ำ
ตามปกติน้ำที่ส่งผ่านท่อไปยังผิวหน้า ถ้าหากไม่ปล่อยให้ไหลมาตามความลาดเทของพื้นที่หรือปล่อยน้ำให้ไหลมาจากหอถังส่งน้ำซึ่งมีแรงดันสูงพอที่จะทำให้ หัวจ่ายน้ำทำงานได้ ส่วนมากมักจะส่งให้น้ำไหลไปด้วยแรงดันที่เกิดจากปั้มน้ำ ซึ่งใช้ เครื่องยนต์หรือมอเตอร์เป็นแหล่งต้นกำลัง ระบบให้น้ำที่ได้ออกแบบเอาไว้จะทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ จำเป็นต้องคำนวณและออกแบบขนาดปั้มน้ำให้ถูกต้องด้วย การออกแบบ ปั้มน้ำให้ดำเนินงานการตามขั้นตอน ดังนี้
4.1 แรงม้าของปั้ม = อัตราการไหล (ม3/ชม.) x แรงดัน / 270
ข้อมูลที่ใช้ประกอบการคำนวณเป็นข้อมูลที่ได้จากตัวอย่างการออกแบบท่อตั้งแต่ท่อแขนงถึงท่อประธานและข้อมูลอื่นๆ ที่เขียนไว้ในผังการออกแบบการให้น้ำ
อัตราการไหลของน้ำเป็นค่าที่ได้จากการไหลของน้ำจากท่อประธาน คือ 12 ม3/ชม.
แรงดันหรือแรงเสียดทาน = JL x F
100
J = แรงเสียดทานดูได้จากตารางที่ 11.3 ,11.4
L = ความยาวท่อดูได้จากผังการออกแบบ
F = จำนวนหัวจ่ายน้ำหรือจุดจ่ายน้ำดูได้จากตารางที่ 11.5
การคำนวณแรงเสียดทาน คำนวณจากขนาด ของท่อและอัตราการส่งน้ำในท่อที่ได้ออกแบบเอาไว้ ซึ่งมี 3 ขนาด ดังนี้
1. คำนวณหาแรงเสียดทานจากท่อแขนงขนาด ¾ นิ้ว อัตราส่วนน้ำ 2 ม3/ชม.
ดูค่า J จากตารางที่ 11.4 ได้ = 12.514 / 100 เมตร
ดูค่า L จากผังการออกแบบ = 80 เมตร
ดูค่า F จากตารางที่ 11.5 จุดจ่ายน้ำ 20 จุด = 0.38

แรงเสียดทาน = (12.514 x 80) x 0.38
100
= 3.80 เมตร

2. คำนวณหาแรงเสียดทานจากท่อประธานย่อยขนาด 1 ½ นิ้ว อัตราส่งน้ำ 6 ม3/ชม.
ดูค่า J จากตารางที่ 11.4 ได้ = 3.497 / 100 เมตร
ดูค่า L จากผังการออกแบบ = 20 เมตร
ดูค่า F จากตารางที่ 11.5 จุดจ่ายน้ำ 3 จุด = 0.54

แทนค่า = (3.497 x 20) x 0.54
100
= 0.37 เมตร
3. คำนวณหาแรงเสียดทานจากท่อประธานขนาด 2 นิ้ว อัตราส่งน้ำ 12 ม3/ชม.
ดูค่า J จากตารางที่ 11.4 ได้ = 4.27 / 100 เมตร
ดูค่า L จากผังการออกแบบ = 70 เมตร
ดูค่า F จากตารางที่ 11.5 จุดจ่ายน้ำ 1 จุด = 1
แทนค่า = (4.22 x 70) x 1
100
= 2.95 เมตร
แรงดันใช้การของปั้ม = แรงดูด + แรงเสียดทาน (ท่อประธาน, ท่อประธานย่อย,ท่อแขนง)
+ แรงดันหัวจ่ายน้ำ
= 5 + 3.8 + 0.37 + 2.95 + 10 เมตร
= 22.12 เมตร

หมายเหตุ
1. แรงดัน = 5 เมตร เป็นค่าประมาณความต่างระดับจากปั้มถึงผิวน้ำของแหล่งน้ำ
2. 10 เมตร เป็นค่าแรงดันโดยประมาณของหัวจ่ายน้ำขนาด 100 ลิตร/ชม.
และเผื่อแรงเสียดทานในข้อต่อต่างๆ 10 % = 2.2 เมตร
เพราะฉะนั้น แรงดันปั้ม = 22.12 + 2.2 = 24.32 เมตร
เพราะฉะนั้น ต้องเลือกพื้นที่ให้อัตราการไหลของน้ำ 12 ม3/ชม. แรงดันปั้ม = 24.32 เมตร

แรงม้าของปั้ม = อัตราการไหลของน้ำ x แรงดัน
270
แทนค่า = 12 x 24.32
270
= 1.08 แรงม้า
แรงม้าของมอเตอร์ = 1.08
0.80 x 0.80
= 1.68 แรงม้า
หรือ เลือกใช้มอเตอร์ขนาด 2 แรงม้า
ขึ้นไปด้านบน