สปริงเกลอร์ sprinkler ระบบน้ำอัตโนมัติ water timer บ้าน สวน โรงแรม
Facebook SprinklerHome Line SprinklerHome.com Youtube SprinklerHome

ระบบการติดตั้งปั๊มน้ำภายในบ้าน ทั่วไปที่นิยมใช้กัน



วัน นี้มีความรู้เกี่ยวกับการติดตั้งปั๊มน้ำมาฝากครับมีทั้งหมด4แบบครับลองดู ตอนนี้อาจจะยังไม่เป็นประโยชน์ แต่ในอนาคตสำหรับท่านที่ต้องการติดตั้งปั๊มน้ำอาจจะนึกถึงก็ได้ครับ
ระบบการติดตั้งปั๊มน้ำภายในบ้าน ทั่วไปที่นิยมใช้กัน

แบบที่ 1 เป็นการติดตั้งแบบ 2 ระบบ ซึ่งเป็นระบบมาตรฐาน


(แบบนี้จะเหมาะกับบ้านที่มีถังน้ำขนาดใหญ่ มีน้ำสำรองไว้ใช้อย่างเพียงพอ)

- ระบบที่ 1 น้ำจากท่อเมนประปาไหลเข้าถัง และเมื่อน้ำเต็มถังลูกลอยจะปิดน้ำเข้าถัง ปั๊มน้ำสูบน้ำจากถัง จ่ายเข้าท่อน้ำภายในบ้าน

รับทำเว็บ  webUB.com

รูประบบที่ 1


- ระบบที่ 2 ทำงานสัมพันธ์กับระบบที่ 1 คือ เมื่อไฟฟ้าดับ น้ำจากท่อเมนประปาจะไหลเข้าบ้าน ตามแรงดันน้ำประปา และเมื่อไฟฟ้าทำงานตามปกติ ปั๊มจะสูบน้ำจากถังเข้าบ้านอัตโนมัติ (ไม่ต้องหมุนวาล์ว)
รับทำเว็บ  webUB.com

รูประบบที่ 2

แบบ ที่ 2 เป็นการติดตั้งแบบ 4 ระบบพิเศษ


(แบบนี้เหมาะกับบ้านที่มีความต้องการใช้น้ำมาก หรือมีน้ำเก็บสำรองน้อย) ซึ่งมีส่วนเพิ่มอีก 2 ระบบ คือ

- ระบบที่ 3 กรณีน้ำหมดถัง (เนื่องจากใช้น้ำมาก หรือน้ำประปาไม่ไหลเข้าถัง) สามารถใช้ปั๊มน้ำสูบน้ำจากท่อเมนประปาโดยตรง เข้าบ้าน โดยหมุนวาล์วเพียง 2 ตัว ทำให้มีน้ำใช้ภายในบ้านโดยสูบน้ำตรงจากท่อเมนประปาที่น้ำไหลอ่อน

รับทำเว็บ  webUB.com

รูประบบที่ 3


- ระบบที่ 4 ทำงานต่อเนื่องจากระบบที่ 3 ใช้ปั๊มน้ำสูบจากท่อเมนประปาเก็บไว้ในถัง เมื่อน้ำเต็มถังลูกลอยจะปิดน้ำเข้าถัง โดยหมุนวาล์วเพิ่มจากระบบที่ 3 เพียงตัวเดียว ทำให้สามารถสูบน้ำจากท่อเมนประปาที่น้ำไหลอ่อน เก็บเข้าถังไว้สำรองไว้ใช้ได้

รับทำเว็บ  webUB.com

รูประบบที่ 4

ใน กรณีที่ต้องการไม่ให้ปั๊มน้ำสูบน้ำจากถังเมื่อน้ำหมดถัง ต้องติดตั้งสวิทซ์ลูกลอยตัดระบบไฟฟ้าที่ควบคุมปั๊มน้ำ เพื่อป้องกันปั๊มน้ำชำรุดเนื่องจากการทำงานโดยไม่มีน้ำ

การติดตั้งถังน้ำสเตนเลส


- ควรติดตั้งใกล้ท่อน้ำประปาภายนอกให้มากที่สุด เพื่อให้น้ำไหลเข้าถังได้สะดวก
- ควรใช้ท่อน้ำเข้าถังขนาดใหญ่ อย่างน้อยขนาด 3/4 หรือ 1 นิ้ว ท่อขนาดเล็กทำให้น้ำไหลเข้าถังช้า
- การเคลื่อนย้าย , ติดตั้ง ต้องระวังไม่ให้ของมีคมกระแทกถัง ซึ่งอาจทำให้ถังชำรุดได้
- ควรติดตั้งให้มีพื้นที่สำหรับเข้าทำงานซ่อมแซมได้สะดวก
- กรณีติตดั้งในที่โล่งมีลมแรง ควรยึดถังกับขาให้แน่นหนา และยึดขาถังกับพื้น และควรมีน้ำเต็มในถังตลอดเวลา เพื่อป้องกันถังล้มเนื่องจากลมแรง
- ถังน้ำสเตนเลสขนาดใหญ่ (ตั้งแต่ 2,000 ลิตร ขึ้นไป) หรือในพื้นทีที่ดินอ่อนมาก ควรเทพื้นซีเมนต์เสริมโครงเหล็กโดยใช้เหล็กเส้นขนาด 6 มม. หรือ 2 หุน ผูกเป็นตารางขนาดประมาณ 20 X 20 cm. โดยเทพื้นหนาประมาณ 8 – 10 cm รองรับด้วย ขนาดกว้าง-ยาวให้ใหญ่พอที่จะตั้งถังได้สะดวก หรืออาจจะเผื่อพื้นที่ตั้งปั๊มน้ำด้วยก็จะดีมาก

แหล่งที่มา : เว็บไซต์ enjoywithhome.com
ขึ้นไปด้านบน