สปริงเกลอร์ sprinkler ระบบน้ำอัตโนมัติ water timer บ้าน สวน โรงแรม
Facebook SprinklerHome Line SprinklerHome.com Youtube SprinklerHome

ปั๊มน้ำ กับ ระบบสปริงเกอร์



การเลือกปั๊มน้ำ ระบบสปริงเกอร์

องค์ประกอบในการทำระบบน้ำ



1.เป้าหมายในการเลือกระบบน้ำ

บริษัทมีอุปกรณ์ให้น้ำมากมายหลายระบบ ที่จะสนองตอบความต้องการ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการทำระบบให้น้ำ โดยมีระบบที่สามารถใช้ได้ทุกพื้นที่เกษตร เช่น
แปลงพืชผักหวานบ้าน แปลงพืชไร่ สวนผลไม้ ระบบให้น้ำในโรงเรือน สนามกีฬา ทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ และสวนสาธารณะ ฯลฯ โดยทุกระบบมีการใช้อุปกรณ์ที่แตก
ต่างกันไป
ปั๊มน้ำ


2.เลือกระบบให้เหมาะสมกับการใช้งาน

น้ำเป็นทรัพยากรที่มีค่า และมีราคาแพง แม้ว่าปัจจุบันนี้ รัฐบาลจะยังไม่มีการเรียกเก็บค่าน้ำ แต่ก็ต้องเสียค่าพลังงานในการนำน้ำมาใช้ดังนั้นปริมาณน้ำที่ใช้
ควรให้เหมาะสมกับพื้นที่ปลูก โดยเลือกหัวจ่ายน้ำให้เหมาะสมกับการใช้งาน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพื้นที่รดน้ำ รัศมีการฉีด แรงดันน้ำจากปั้ม และขนาดของหัวจ่ายน้ำ ใน
กรณีที่ยังไม่มั่นใจ ควรทดลองทำในคลองขนาดเล็กก่อน

3.การจัดเตรียมระบบ

เมื่อได้ตัดสินใจเลือกระบบที่ต้องการได้แล้ว ควรทำแบบร่างขนาดพื้นที่ในกระดาษ หากเป็นพื้นที่ขนาดใหญ่ ควรแบ่งพื้นที่ออกเป็นส่วน (โซน) โดยใช้วาล์วเป็นตัว
กำหนดโซน เพื่อสลับเวลาการให้น้ำ การแบ่งโซนจะมีผลทำให้ขนาดท่อ อุปกรณ์ และปั้มน้ำเล็กลง ซึ้งเป็นการประหยัดอีกทางหนึ่ง ในกรณีที่มีระบบให้น้ำใหญ่มาก
อาจแบ่งการติดตั้งเป็น 2 หรือ 3 ระบบก็ได้( 2 หรือ 3 ปั้ม ) เพื่อประหยัดเวลา และง่ายต่อการบำรุงรักษา

4.การจัดแบ่งโซนและวางท่อ

ในการจัดแบ่งโซนที่ถูกต้องควรแบ่งให้ทุกโซน มีจำนวนพื้นที่ใกล้เคียงกัน โดยทั่วไประบบท่อจะประกอบด้วยท่อประธาน ท่อรองประธาน สำหรับแบ่งโซน และท่อ
แขนงจ่ายหัวจ่ายน้ำ ขนาดของท่อมีความสัมพันธ์กับปริมาณการไหลของน้ำ ดังนั้นขนาดท่อที่ใช้จะต้องเหมาะสมกับปริมาณการให้น้ำในแต่ละโซน

5.ปั้มสูบน้ำ

ปั้มสูบน้ำเป็นหัวใจในการทำระบบน้ำ โดยมีหน้าที่นำน้ำจากแหล่งน้ำพร้อมเพิ่มแรงดันเข้าในระบบผ่านกรองน้ำ ท่อประธาน ท่อรองประธานแยกไปท่อแขนงส่งต่อ
มายังหัวจ่ายน้ำ เนื่องจากปั้มมีความสำคัญต่อระบบ จึงขอนำเสนอคำนิยามที่เกี่ยวกับปั้มสูบน้ำ พร้อมคำอธิบายความหมายในลักษณะการใช้งาน



คำศัพท์พิเศษที่เกี่ยวกับปั้มน้ำ



คำศัพท์ที่อยู่ข้างล่าง คือคำศัพท์ที่เกี่ยวกับปั้มน้ำพร้อมคำอธิบายและความหมาย โดยที่หน่วยทุกชนิดที่ช้ในการอธิบาย จะเป็นหน่วยเมตริกซึ่งสามารถใช้ในการเทียบ
หน่วยและแปลงหน่วยต่าง ๆ

เฮด (Head)

เฮด ( Head) คือความสูง, ความต่างระหว่างระดับต่าง ๆ และความชัน ในกรณีของปั้มน้ำ ปั้มน้ำที่มีปริมาณการไหลของน้ำเท่ากับ Q ลิตรขึ้นไปในแนวตั้งได้
30 เมตร ทุก ๆระยะเวลา 1 วินาที สำหรับปั้มน้ำโดยทั่วไป เฮด (Head) ของปั้มสามารถหาได้จากเอกสารแสดงข้อมูลทางเทคนิคของปั้มจากทางผู้ผลิต
โดยปริมาณเฮด (Head) ของปั้มส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับขนาดและความเร็วในการหมุนของใบพัดปั้มน้ำ ในกรณีที่นำมาใช้งานในระบบสปริงเกอร์ เฮด (Head) คือ
แรงดันที่ต้องการของหัวจ่ายน้ำเพื่อให้ได้รัศมีและปริมาณน้ำที่กำหนด



น้ำหนักจำเพาะ (Specific Weight )

น้ำหนักจำเพาะของของเหลว เป็นน้ำหนักต่อปริมาตรของของเหลวชนิดนั้น ๆ โดยน้ำหนักจำเพาะจะมีหน่วยเป็น 1 กิโลกรัม/ลูกบาศก์เซนติเมตร หรือ
1Kg/cm3 โดยที่ 1ลูกบาศก์เดซิเมตร (1dm3) มีค่าเท่ากับ 1 ลิตร



ปริมาณการไหล (Flow)

ปริมาณการไหล (Flow) คือปริมาณของของเหลวที่ไหลผ่านพื้นผิว/ ช่องต่าง ๆ เช่น ปริมาณการไหลของน้ำที่ไหลผ่านทางน้ำออกของปั้มหรือท่อส่งน้ำต่อ 1
หน่วยเวลา

ปริมาณการไหลของน้ำสามารถวัดได้ในหน่วย ลิตร / วินาที หรือลูกบาศก์เมตร / ชั่วโมง

ปริมาณการไหลของน้ำในท่อ และปริมาณกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านสายไฟนั้นมีหลักการที่ค่อนข้างคล้ายกัน โดยเฮด (head) ของของเหลวจะเหมือนกับแรงคลื่อน
ไฟฟ้า โวลท์ (V) และปริมาณการไหลของของเหลวก็จะเปรียบเหมือนปริมาณกระแสไฟฟ้า ( แอมป์ A )และปัจจัยที่ทำให้ค่าเหล่านี้เปลี่ยนแปลงก็ยังเหมือนกัน
อีก ด้วยสายไฟเส้นเล็กจะไม่สามารถจ่ายไฟได้มากเท่าสายไฟเส้นใหญ่ เช่นเดียวกันกับท่อน้ำที่มีขนาเล็กก็จะส่งน้ำได้น้อยกว่าท่อที่มีขนาดใหญ่ (ขนาดของท่อส่ง
สามารถใช้ท่อให้ใหญ่กว่าทางออกของปั้มน้ำได้ )

ในกรณีของน้ำ ค่าแรงต้านทานก็คือค่า Head Loss ซึ่งจะขึ้นอยู่กับคุณภาพของท่อที่ใช้ ( วัตถุดิบที่ใช้, รูปร่าง และพื้นผิวภายในท่อ )โดยที่ความเร็วของน้ำที่
ไหลผ่านก็มีส่วนด้วย



แรงดันที่สูญเสียไป (Head loss)

แรงดันที่สูญเสียไป (Head loss ) คือแรงดันของน้ำที่สูญเสียไประหว่างที่ไหลผ่านท่อ, กรองน้ำ,ข้อต่อ,วาล์ว

แรงดันที่สูญเสียไปเนื่องจากแรงเสียดทานนี้ ไม่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ ในระบบไฟฟ้า แรงเคลื่อนไฟฟ้าจะลดลงถ้ากระแสไฟฟ้าเพิ่มขึ้น ในระบบน้ำก็เช่น
เดียวกัน น้ำจะเสียแรงดันมากขึ้นตามความเร็วของน้ำในระบบ ดังนั้นถ้าระบบน้ำมีการใช้ขนาดของท่อให้เล็กกว่าปกติ กรองเกิดการอุตัน หรือหัวจ่ายน้ำอุดตัด
แรงดันก็จะสูญเสียมากขึ้นตามไปด้วย มีผลให้ปริมาณน้ำลดลง

แม้ว่าจะเป็นการตัดสินใจที่ยากลำบากในการที่จะเลือกระบบและอุปกรณ์ บริษัทรับรองว่าทางบริษัทมีระบบและอุปกรณ์ที่สามารถสนองความต้องการของท่านจาก
แหล่งจำหน่ายเดียวกัน โดยสามารถเลือกซื้อหรือสั่งงซื้อได้ตามความต้องการ จากตัวแทนจำหน่ายใกล้บ้านท่าน จากประสบการณ์การเลือกระบบรดน้ำที่ถูกต้อง มี
การติดตั้งอย่างถูกวิธี จะมีส่วนช่วยให้ท่านประสบความสำเร็จในการทำการเกษตร

อัตราการไหลสูงสุดในท่อพีอี PN 4 อัตราการไหลสูงสุดในท่อพีวีซี CLASS 8.5

รับทำเว็บ  webUB.com
ขึ้นไปด้านบน