สปริงเกลอร์ sprinkler ระบบน้ำอัตโนมัติ water timer บ้าน สวน โรงแรม
Facebook SprinklerHome Line SprinklerHome.com Youtube SprinklerHome

ประสบการณ์ในการซื้ออุปกรณ์ระบบสปริงเกอร์



อิอิ ได้ความรู้มากๆเลยครับ ผมก็ได้ศึกษาการวางระบบน้ำมาพอสมควรเหมือนกัน ในกรณีของปั๊มจะใช้กี่แรงนั้นขึ้นอยู่กับเงินมากกว่าและความลึกของแหล่งน้ำเป็นหลัก การวางแผนจริงมีสองแบบ 1.แบบบ้านๆ คือการคำนวณคร่าวๆเช่นท่อประมาณแค่นั้นแค่นี้ ยาวแค่นี้ กะเอาคร่าวๆ 2.การวางแผนแบบทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งในประเทศไทยไม่ค่อยมีใครใช้กันเพราะยุ่งยาก หลักการคำนวณที่ค่อนข้างยาก แต่รับรองประสิทธิภาพการให้น้ำเมื่อเทียบกับเงินที่ต้องจ่ายไปแล้วคุ้มกว่า เพราะสามารถดึงเอาประสิทธภาพทั้งตัวจ่ายน้ำ ขนาดท่อ ความยาวท่อ มาใช้ได้เต็มที่ ฉะนั้นผมจะลองอธิบายแบบสองเนาะเพราะแบบแรกตามเวบทั่วไปมีอยู่ทั้งในสังคมเวบของเรา

วิธีที่ใช้คำนวณการให้น้ำทางการเกาตรคือการคำนวณแบบ poly plot ซึ่งวิธีนี้อัตราการไหลของน้ำจะเท่ากันทุกจุด ทุกหัว ในระยะที่ไม่เกิน 100 เมตร ถ้าเกินนั้นต้องวางบล็อคใหม่ ทางกรมวิชาการเกษตร กรมส่งเสริมเคยส่งคนมาอบรมเนาะ พอจบหลักสูตรไม่ผ่านเลยสักคนเดว ส่วนมากจะไม่รู้เรื่อง วิธีนี้ทางราชการเลยไม่ส่งเสริมเนาะ ทั้งที่ต่างประเทศเขาใช้กัน ให้ประสิทธิภาพสูงเกือบ 90 %

1.ต้องทำการสำรวจพื้นที่ กว้าง ยาว เท่าไหร่ ทิศทางของแปลง เพราะระยะปลูกกว้างคูณยาว ส่วนมากจะเป็น 4*3 บ้าง 5*6 ต้องคำนึงถึงการได้รับแสงสุดของพืช พูดง่ายๆคือจะปลูกตามแนวตะวันหรือขวางตะวัน

2.ความลาดชันของพื้นที่ และความสูงของพื้นที่จากระดับน้ำทะเล ในแต่ละจุดระยะห่างอย่างน้อย 5 เมตรต่อจุด

3.ทำการสร้างแผนที่เพื่อจัดต้นไม้ลงบนแผนที่ที่เราวาดเอาไว้

4. คำนวณ ชนิดของดิน ชนิดพืช ความลึกของราก ค่าสัมประสิทธิ์การระเหยของน้ำในพื้นที่นั้นๆ ความยาวของช่วงแสงในแต่ละวัน ความเร็วลม ข้อมูลปริมาณน้ำฝนต่อปีเพราะจะส่งผลถึงความชื้นในดิน ค่าทั้งหมดจะออกมาในรูปค่าอัตราการใช้น้ำต่อต้น และจำนวนชั่วโมงการให้น้ำ
นำค่าอัตราการใช้น้ำต่อต้น ไปคำนวณหาขนาดหัวปริงเกอร์ที่ต้องใช้

5.หาค่าการให้น้ำว่าปริมาณความต้องการน้ำของพืชชนิดนั้นๆ เมื่อเทียบกับขนาดปั๊มจะได้กี่ต้น ถ้าต้นเยอะกว่าประสิทธิภาพปั๊มหรือเกินชั่วโมงการให้น้ำ อาจจะต้องแบ่งบล็อคใหม่

6.หาขนาดของท่อประธาน(Main line) ท่อประธานย่อย (Sub main) และท่อแขนง (Lateral)

ึ7.คำนวณแรงเสียดทาน Friction ที่เกิดจากท่อทั้งระบบ วาวล์ต่างๆ

8.สุดท้ายจะได้ ขนาดปั๊มที่ควรจะใช้ ประสิทธิภาพปั๊ม อัตราการไหลของหัวปริงเกอร์ ระยะความกว้างของน้ำจากหัวสปริงเกอร์ต้องสัมพันธ์กับระยะปลูก

ความยาวและขนาดของท่อประธาน(Main line) ท่อประธานย่อย (Sub main) และท่อแขนง (Lateral) ชั่วโมงการให้น้ำในแต่ละวัน

อาจจะงงๆแต่มันต้องใช้เวลาเนาะ ผมก็พิมพ์ไม่ค่อยเก่ง แต่พูดเก่ง อิอิ การวางแผนบางทีต้องสำรวจพื้นที่เนาะ กว่าจะวางแปลนคำนวณออกมาก็ใช้เวลาอยู่ วิธีนี้เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ต่างประเทศเขาใช้กัน แต่พี่ไทยสบายใจว่าเนาะง่ายๆสะดวกไว้ก่อน ส่วนมากวิธีนี้จะใช้ในการคำนวณการวางแปลนประปาภูเขาเนาะเพราะมันต้องใช้ความละเอียดสูงในการหาค่า friction เพราะพื้นที่มันต่างระดับกันเยอะและวิธีนี้จะนำเอาความสูงของพื้นที่มาใช้ประโยชน์ แต่ถ้าเป็นพื้นราบก็ใช้ได้เนาะ เพราะบางทีพื้นที่สูงต่ำไม่เท่ากัน เราคงเคยเห็นพอเปิดสปริงเกอร์แล้วบางจุดออกเยอะ บางจุดออกน้อย วิธีนี้จะช่วยได้ ทำให้อัตราการไหลเท่ากันทุกหัว

อ่อการป้องกัน water hammer แค่ใช้เช็ควาล์วเป็นจุดๆไปก็พอ จะมากน้อยแล้วแต่เนาะส่วนมากถ้าความยาวท่อประมาณ 100 เมตรสักห้าจุดก็พอ เพราะแรงดันที่เกิดมันไม่พอทำให้ท่อแตก แต่ในการคำนวณต้องเอาค่าเช็ควาวล์มาคำนวณด้วยนะ
ขึ้นไปด้านบน