สปริงเกลอร์ sprinkler ระบบน้ำอัตโนมัติ water timer บ้าน สวน โรงแรม
Facebook SprinklerHome Line SprinklerHome.com Youtube SprinklerHome

การวางแผนระบบรดน้ำ สปริงเกอร์



การวางแผนที่ดี ทำให้มีชัยไปกว่าครึ่ง คำนี้ยังใช้ได้ผลเสมอ การวางแผนก่อนการเดินท่อ หรือซื้อ หัวสปริงเกอร์ จะทำให้ประหยัดตันทุนในการใช้จ่าย ไม่เปลืองน้ำ เปลืองไฟ เปลืองเงินเรา การไม่วางแผนการทำงาน อาจทำให้เราเสียตั้งค์ ซ้ำซ้อน เช่น เลือกปั๊มไม่เหมาะกับ สปริงเกอร์ อาจจะเล็กไปทำให้น้ำที่จ่ายออกมาไม่ได้ รัศมีที่ต้องการก็ต้องเสียเงินซื้อปั๊มมาเปลี่ยนใหม่อีก หรือการเดินท่อน้ำเล็กไปเพราะต้องการประหยัดค่าใช้จ่าย อาจทำให้เราไม่สามารถเลือกห้วที่มีรัศมีไกลได้ จึงต้องเดินท่อหลายโซน เพราะหัวฉีดเราเล็ก เพราะฉนั้นการวางแผนเลือกอุปกรณ์ ต้องมาก่อน เราจะเริ่มวางแผนการทำระบบสปริงเกอร์ภายในบ้านกันเลย ไปหยิบกระดาษมาวาดแบบบ้านและสวนได้เลยครับ


การแบ่งพื้นที่ออกเป็นส่วนๆ เพื่อเลือกหัวสปริงเกอร์

เริ่มแรกคุณต้องแบ่งพื้นที่สนามออกเป็นส่วนๆก่อน เพื่อให้ง่าต่อการจัดการ


จากนั้นก็เลือกหัวสปริงเกอร์ ที่มีระยะฉีดเหมาะสมกับพื้นที่ของคุณ เท่าใดจึงจะเหมาะสมที่สุด(ถ้าสนามเล็กถึงปานกลาง เราจะเลือกหัวสปริงเกอร์ที่มีรัศมีเท่ากับความกว้างของสนาม จะทำให้ง่ายต่อการติดตั้ง และทำให้การจัดวางท่อเป็นไปอย่างง่ายดาย สะดวกในการติดตั้งและซ่อมบำรุงในภายหลัง เนื่องจากไม่มี หัวสปริงเกอร์ และท่ออยู่กลางสนามนั่นเอง)




สำหรับพื้นที่ขนาดใหญ่ อาจจำเป็นต้องติดตั้งสปริงเกอร์ อยู่กลางสนาม แต่อาจใช้วิธีซ่อน หัวสปริงเกอร์ โดยการใช้ สปริงเกลอร์ แบบป๊อปอัพการเลือก สปริงเกอร์ ให้เหมาะสม

การเลือกขนาดท่อ มีส่วนสำคัญกับ รัศมีของ สปริงเกอร์ และปริมาณน้ำที่ออกมา

ท่อที่มีขนาดเล็ก จะทำให้เราต้องเลือกหัวสปริงเกอร์ที่มีรัศมีไม่ไกลมากนัก เนืองจากปริมาณน้ำทีผ่านท่อมาได้มีไม่เพียงพอที่จะทำให้เหวียงได้ไกลๆ ผลที่ตามมาอีกอย่างก็คือเราต้องมีจำนวนโซนมากขึ้น เพราะ สปริงเกอร์เราเหวียงน้ำไม่ไกล

ท่อที่มีขนาดใหญ่ขึ้น จะทำให้เราสามารถเลือก สปริงเกอร์ ที่มีรัศมีไกลได้ ทำให้ไม่ต้องใช้โซนในการรดน้ำมาก

การเลือกหัวสปริงเกอร์ให้เหมาะสม กับการใช้งาน

พื้นที่สนามหญ้าโล่ง ใช้ สปริงเกอร์ แบบป๊อปอัพ จะทำให้สนามหญ้าดูดีที่สุด เนื่องจากเมื่อเวลาไม่ได้ทำงานจะหุบลงราบกับพื้น เมื่อจะทำการรดน้ำ หัวสปริงเกอร์ ก็จะโผล่ขึ้นมาจากดิน เราจึงเรียกหัวแบบนี้ว่าหัวแบบป๊อปอัพ

สำหรับพุ่มไม้ ควรจะมีก้านต่อและสามารถใช้เฉพาะหัวฉีด หรือ สปริงเกอร์ ชนิดติดเพื่อรดแนวพุ่มไม้ได้


พื้นที่ที่ใช้สปริงเกอร์ขนาดใหญ่

สามารถครอบคุมพื้นที่ได้ถึง ขนาดเส้นผานศูนย์กลาง 44 เมตร

สปริงเกอร์เนลสัน แบบเกียร์ไดร์ฟป๊อปอัพ และแบบอิมแพค สำหรับสนามหญ้า

สปริงเกอร์เนลสัน แบบเกียร์ไดร์ฟหัวโผล่พ้นพื้นสำหรับพุ่มไม้เตี้ย

เกียร์ไดร์ฟ Gear Drive เป็นสปริงเกอร์แบบหมุนเงียบและสามารถรถน้ำเป็นวง(เต็มวง หรือเป็นเสี้ยวได้)และใช้แรงขับเคลื่อนของน้ำเป็นตัวทำให้เกิดแรงหมุนของสปริงเกอร์




พื้นที่ที่ใช้สปริงเกอร์ขนาดเล็ก

สามารถครอบคุมพื้นที่ได้ถึง ขนาดเส้นผานศูนย์กลาง 10 เมตร


หัวสเปรย์เนลสัน แบบป๊อปอัพ

หัวสเปรย์เนลสัน แบบหัวโผล่พ้นพื้นสำหรับพุ่มไม้เตี้ย

หัวสเปรย์ Spray Head เป็นสปริงเกอร์แบบไม่หมุน ทำให้สปริงเกอร์แบบนี้รดน้ำได้ไม่ไกลเท่ากับสปริงเกอร์แบบเกียร์ไดร์ฟ หรืออิมแพค หัวสปริงเกอร์จะเป็นตัวกำหนดลักษณะน้ำที่ออกเป็นวง(เต็มวง, ครึ่งวงกลม หรือ 1/4 วง) หรือเป็นเส้น (แบบรดน้ำซ้าย-ขวา และแบบรดน้ำข้างหน้า)


***ภายในโซนเดียวกันควรใช้ สปริงเกอร์ ขนาดและแบบเดียกัน


การเลือกสปริงเกลอร์ ควรเลือกระยะฉีดให้เท่ากับความกว้างของพื้นที่แต่ละส่วน จากตัวอย่างพื้นที่ตามรูปจะเห็นได้ว่าพื้นที่แบ่งได้เป็น 5 ส่วนโดยความกว้างของทั้ง 5 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1= 3.6 เมตร,ส่วนที่ 2 = 7.2 เมตร,ส่วนที่ 3 = 3.6 เมตร,ส่วนที่ 4=2.4 เมตร,ส่วนที่ 5 = 9.6 เมตร ตามลำดับ หากเลือกหัวสปริงเกลอร์โดยดูจากตารางของหัวแต่ละรุ่นจะพบว่า

- พื้นที่ส่วนที่ 1 สามารถใช้หัวสปริงเกลอร์รุ่น 6304 และหัวฉีด 7370 ที่สามารถฉีดได้ 3.7 เมตร ที่แรงดัน 1.4 บาร์

- พื้นที่ส่วนที่ 2 สามารถใช้หัวสปริงเกลอร์รุ่น PRO 5500/X2-550 หัวฉีดเบอร์ 54 ที่สามารถฉีดได้ 7.0 เมตร ที่แรงดัน 1.4 บาร์

- พื้นที่ส่วนที่ 3 สามารถใช้หัวสปริงเกลอร์รุ่น 6304 และหัวฉีด 7370 ที่สามารถฉีดได้ 3.7 เมตร ที่แรงดัน 1.4 บาร์

- พื้นที่ส่วนที่ 4 สามารถใช้ข้อต่อรดน้ำพุ่มไม้ 6300 และหัวฉีด 7307 ที่สามารถฉีดได้ 3.7 เมตร ที่แรงดัน 1.4 บาร์ เนื่องจากบริเวณที่ติดตั้งเป็นพุ่มไม้ จึงจำเป็นต้องใช้ก้านต่อ PR ด้วย

- พื้นที่ส่วนที่ 5 สามารถใช้หัวสปริงเกลอร์รุ่น PRO 6000/X 2-600 หัวฉีดเบอร์ 6 ที่สามารถฉีดได้ 9.8 เมตร ที่แรงดัน 1.4 บาร์

พื้นที่เดียวกันจะต้องใช้หัวชนิดเดียวกัน แต่หากต่างพื้นที่กันสามารถใช้หัวต่างชนิดกันได้ อย่างไรก็ตามในพื้นที่ที่ต่างกันหัวที่เลือกแม้จะต่างประเภท ต่างรุ่นกันก็ตาม แต่แรงดันที่เลือกของหัวทุกรุ่นควรจะเท่ากันที่ 1.4 บาร์ หรือในกรณีที่เลือกที่แรงดันเท่ากันไม่ได้ควรที่จะเลือกหัวที่แรงดันใกล้เคียงกันที่สุด เพื่อให้ง่ายต่อการเลือกปั้มน้ำ

การกำหนดตำแหน่ง และระยะห่างระหว่างหัวสปริงเกลอร์

ระยะห่างระหว่างแต่ละหัวสปริงเกอร์จะเป็นไปตามขนาดพื้นที่ และระยะรัศมีของสปริงเกลอร์ที่ฉีดในแต่ละพื้นที่ ตามตัวอย่างหัวสปริงเกอร์รุ่น 6304 และหัวฉีด 7370 สามารถฉีดได้ 3.7 เมตรแต่พื้นที่กว้างเพียง 3.6 เมตร เราจึงต้องการฉีดเพียง 3.6 เมตรและสามารถปรับหัวให้ฉีดได้ระยะดังกล่าว ระยะห่างระหว่างสปริงเกลอร์จึงเป็น 3.6 เมตรเช่นกัน การวางระยะห่างขนาดนี้ ทำให้มีการรดน้ำเหลื่อมล้ำกันระหว่างแต่ละสปริงเกลอร์เพื่อให้พืชได้น้ำอย่างทั่วถึงและเพียงพอด้วย ปริมาณน้ำที่เท่า ๆ กัน

การวางตำแหน่งในแบบนั้นควรจะเริ่มวางจากมุมของแต่ละพื้นที่ก่อน โดยใช้หัวที่ฉีดทำมุม 90 องศาจากนั้นจึงวางสปริงเกลอร์ที่ฉีดลักษณะครึ่งวงกลมหรือฉีดทำมุม 180 องศา ตามแนวขอบให้ครบ เว้นระยะห่างระหว่างสปริงเกลอร์แต่ละหัวในรูปแบบสี่เหลี่ยมจัตุรัสเพื่อให้สปริงเกลอร์ทั้งบน-ล่าง,ซ้าย-ขวามีระยะห่างเท่ากันที่สุดเท่าที่จะทำได้

การแบ่งโซนโดยการใช้ Zone Chart

เมื่อเราเลือกหัว และวางตำแหน่งสปริงเกลอร์แต่ละหัวได้เรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการแบ่งโซน คุณอาจจะไม่สามารถรดน้ำสวนของคุณทั้งสวนพร้อม ๆ กันในครั้งเดียว(เว้นเสียแต่ว่าจะเป็นเพียงสวนเล็ก ๆ เท่านั้น)โดยส่วนมากแล้ว คุณจะต้องแบ่งส่วนของคุณเป็นโซนและรดน้ำเป็นโซนๆไปโซน1โซนก็คือส่วนที่ท่อและสปริงเกลอร์ทั้งหมดในโซนนั้นเปิด-ปิดได้ด้วยวาล์วเพียงตัวเดียวเท่านั้น เมื่อทำการแบ่งโซนเรียบร้อยแล้วให้ใส่หมายเลขกำกับโซนที่แบ่งไว้ลงในแบบ

สิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึงในการแบ่งโซน

- การแบ่งโซนนั้นจะต้องคำนึงถึงปริมาณน้ำในแหล่งน้ำที่คุณมี การใช้น้ำจากแท็งก์น้ำสำหรับใช้ในบ้าน อาจจะทำให้มีน้ำไม่เพียงพอใช้ในขณะที่มีการรดน้ำ ดั้งนั้นการแยกแท็งก์หรือแหล่งน้ำที่จะใช้ในการรดน้ำสนามออกจากส่วนน้ำใช้ภายในบ้าน จึงน่าจะเป็นทางเลือกที่ดีกว่า อย่างไรก็ตามปริมาณน้ำที่มีอย่างจำกัด อาจทำให้ต้องแบ่งจำนวนโซนมากขึ้น ปริมาณน้ำที่มีของแหล่งน้ำที่สามารถใช้ในการรดน้ำได้นี้ จะต้องเติมลงในตาราง Zone Chart ตามตัวอย่าง ในที่นี้ขอกำหนดให้มีปริมาณน้ำที่ใช้ได้อยู่ 4ลบ.ม.

- ห้ามใช้สปริงเกลอร์หลายประเภทในโซนเดียวกัน ตามที่เราได้ทำการแบ่งพื้นที่เป็นส่วน ๆ และกำหนดสปริงเกลอร์ให้พื้นที่แต่ละส่วนแล้วข้างต้นนั้นหากพื้นที่ใดใช้สปริงเกลอร์ชนิดเดียวกันเช่นพื้นที่ส่วนที่1, 3และ 4 ก็สามารถรวมเป็นโซนเดียวกันได้ แต่พื้นที่ส่วนที่ 1 ไม่สามารถรวมกับพื้นที่ส่วนที่ 2 เป็นโซนเดียวกันได้

- แต่ละโซนควรใช้น้ำให้ใกล้เคียงกัน เพราะจะทำให้เลือกปั้มได้ง่ายขึ้น อย่างไรก็ตามหากแบ่งไม่ลงตัว พยายามจัดให้มีจำนวนโซนที่ใช้น้ำใกล้เคียงกันมากที่สุด ส่วนโซนอื่นที่เหลือให้ใช้น้ำน้อยกว่า เนื่องจากเวลาเลือกปั้มต้องใช้โซนที่ใช้น้ำมากที่สุดเป็นเกณฑ์ในการเลือกปั้ม

ตามตัวอย่างเราสามารถลงตารางได้ดังนี้

จะเห็นได้ว่าพื้นที่ 1,3และ 4 ซึ่งใช้หัว7370 ซึ่งเป็นหัวชนิดเดียวกัน ปริมารน้ำรวมคือ4.42ลบ.ม./ชม. ในขณะที่พื้นที่ 2 ซึ่งใช้หัว PRO 5500/X2-550 ใช้ปริมาณน้ำรวม 2.16 ลบ.ม./ชม. และพื้นที่ 4 ซึ่งใช้หัว PRO 60000/X2-600 ใช้ปริมาณรวม1.92 ลบ.ม./ชม. เนื่องจากตามตัวอย่างเรามีน้ำที่สามารถใช้ได้อยู่ 4 ลบ.ม. นั่นหมายถึงว่าหากเราแบ่งเป็น 4 โซน โซนละประมาณ 2 ลบ.ม./ชม. และเราใช้เวลารดน้ำแต่ละโซนประมาณ 30 นาที ก็จะใช้น้ำประมาร 4 ลบ.ม.พอดี อย่างไรก็ตามที่รดน้ำ เราก็สามารถรดน้ำเติมน้ำในแท็งก์ไปด้วยได้ ดั้งนั้นการกำหนดให้แต่ละโซนใช้น้ำประมาณ 2 ลบ.ม./ชม. จึงสามารถทำได้ จะเห็นได้ว่าเราสามารถแบ่งพื้นที่ 1,3 และ 4 เป็น 2 โซนเพื่อให้ใช้น้ำเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณโซนละ 2 ลบ.ม./ชม. ซึ่งแต่ละโซนอาจจะมากกว่าหรือน้อยกว่าเล็กน้อย โดยสรุปแล้วเราจะสามารถแบ่งได้ทั้งหมด 4 โซนดังนี้

โซน 1

โซน 2

โซน 3

โซน 4

ประเภทสปริงเกลอร์

รัศมี(เมตร)

แรงดัน(บาร์)

อัตราการจ่ายน้ำ/หัว(ลบ.ม./ชม.)

จำนวนหัว

อัตราการจ่ายน้ำรวม(ลบ.ม./ชม.)

จำนวนหัว

อัตราการจ่ายน้ำรวม(ลบ.ม./ชม.)

จำนวนหัว

อัตราการจ่ายน้ำรวม(ลบ.ม./ชม.)

จำนวนหัว

อัตราการจ่ายน้ำรวม(ลบ.ม./ชม.)

หัว6304+7370มุมฉีด90องศา

3.7

1.4

0.13

4

0.52

6

0.78

หัว6304+7370มุมฉีด180องศา

3.7

1.4

0.24

8

1.92

5

1.2

หัวPro5500/x2-550#54

7

1.4

0.36

6

2.16

หัวPro06000/x2-600#6

9.8

1.4

0.32

6

1.92

รวม 2.44

รวม 2.16

รวม 1.98

รวม 1.92



ขึ้นไปด้านบน